การประยุกต์ใช้หลักสัปปายะ 4 เพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยว เชิงพระพุทธศาสนาของวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

พระครูศรีกิตยาธร
พระครูวิจิตรศีลาจาร
พระครูวิจิตรรัตนวัตร
พระครูจิตตสุนทร
พระครูวิรัตธรรมโชติ

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง“การประยุกต์ใช้หลักสัปปายะ 4 เพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาหลักสัปปายะ 4 เพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อการประยุกต์ใช้หลักสัปปายะ 4 เพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก นำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบการเขียนบรรยายเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้หลักสัปปายะ 4 เพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นการประยุกต์ใช้หลักสัปปายะ 4 ได้แก่ การนำหลักอาวาสสัปปายะมาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างการท่องเที่ยวในส่วนของสถานที่ นำหลักอาหารสัปปายะมาประยุกต์ใช้ในการจัดการด้านอาหาร นำหลักบุคคลสัปปายะมาประยุกต์ใช้ในการจัดการด้านบุคคล นำหลักธรรม สัปปายะมาประยุกต์ใช้ในการจัดการด้านปฏิบัติธรรม ซึ่งเมื่อนำหลักสัปปายะ 4 มาประยุกต์ใช้ทำให้การท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดไชยธาราราม เป็นการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพทั้งในส่วนของวัดไชยธารารามและจิตใจแก่นักท่องเที่ยว

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูวิจิตรศีลาจาร, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูวิจิตรรัตนวัตร, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูจิตตสุนทร , Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูวิรัตธรรมโชติ, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กรมการศาสนา. (2558), แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเทียวทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.
กรรณิกา คำดี. (2558), วัดและศาสนสถานในมิติของการท่องเที่ยว. บัณฑิตวิทยาลัย
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ, (2556), การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการ ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย, กรงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ),และจำลอง สารพัดนึก, (2555), พจนานุกรมบาลี-ไทย, กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสารจำกัด.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539), พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. ฉบับ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.