นวัตกรรมสุขภาวะวิถีพุทธและพุทธจิตวิทยาบำบัดเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ภาวะซึมเศร้าของเยาวชน

Main Article Content

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
ภัทธิดา แรงทน
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
ทิพย์ธิดา ณ นคร

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของเยาวชน 2) สร้างตัวชี้วัดสุขภาวะและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบประเมินสุขภาวะวิถีพุทธ 3) ศึกษากระบวนการให้คำปรึกษาตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของเยาวชน ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา พุทธจิตวิทยาและการให้คำปรึกษาและการแนะแนวเยาวชน จำนวน 8 คน และประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คือ เยาวชนอายุ 13-15 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย แบบประเมิน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาซึมเศร้าและปัจจัยเสี่ยงของเยาวชนวัยรุ่น มีลักษณะ 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความกดดัน (2) ด้านร่างกาย เช่น โรคทางพันธุกรรม สารสื่อประสาททางสมองทำงานผิดปกติ (3) ด้านสภาพทางสังคม เช่น ความคาดหวังจากสังคมรอบตัว ปัญหาการเลี้ยงดูจากครอบครัว 2) ตัวชี้วัดสุขภาวะวิถีพุทธที่สร้างจากหลักภาวนา 4 มีองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน และองค์ประกอบย่อย 46 ตัวบ่งชี้ โมเดลมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 =38.80, df=27, P-value=0.066, RMSEA=0.060) 3) กระบวนการให้คำปรึกษาตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าของเยาวชนได้บูรณาการหลักธรรมสำคัญ ได้แก่ ไตรสิกขา โยนิโสมนสิการ และสติ โดยกำหนดเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการให้การปรึกษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าของเยาวชน มี 5 ขั้นตอน (2) ขั้นตอนการให้คำปรึกษาทางพุทธจิตวิทยา มี 6 ขั้นตอน (3) เทคนิคปรับวิธีคิดเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักพุทธจิตวิทยา มี 5 ขั้นตอน และ (4) การคัดกรองและพัฒนาเยาวชนด้วยเครื่องมือสุขภาวะวิถีพุทธ ได้แก่ แบบประเมินสุขภาวะตามหลักภาวนา 4


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ภัทธิดา แรงทน, ผู้ช่วยบรรณาธิการวารสาร ศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา DCI

ผู้ช่วยบรรณาธิการวารสาร ศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา DCI

เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา , ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ทิพย์ธิดา ณ นคร, สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และคณะ. (2563). ผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธ สำหรับเยาวชนในศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(3). 31-51.
กรมสุขภาพจิต. (2561). คู่มือปฏิบัติการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับบลิสซิ่ง จำกัด.
ประยงค์ สุวรรณบุบผา. (2544). จิตบำบัดแนวพุทธศาสน์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2556). โยนิโสมนสิการ: วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. กรุงเทพฯ: ปัญญาประดิษฐาน.
พบแพทย์. โรคซึมเศร้า. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2563. จาก https://www.pobpad.com/โรคซึมเศร้า.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539), พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. ฉบับ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. สติบำบัด: ทางเลือกใหม่รักษาโรคซึมเศร้า. สืบค้น 10 มกราคม 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/40115831.
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา และคณะ (2560). “การพัฒนารูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการของพระสงฆ์ที่มีบทบาทให้การปรึกษา”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5 (1)): 103-104.
Jöreskog, K.G. & Sörbom, D. (1996). Lisrel 8: Structural equation modeling with the SIMPLIS command language. Chicago: Scientific Software International.
Soper, D.S. (2021). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models [Software]. from https://www.danielsoper.com/statcalc.