การประยุกต์หลักสัปปายะ 7 พัฒนาเผยแผ่การสอนวิชาสมาธิ เพื่อความสันติสุขของสังคม สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา 29 วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วิเชียร นามการ
วทัญญู ภูครองนา
สุทธิวิทย์ จันทร์ภิรมย์
ประสิทธิ์ คำกลาง

บทคัดย่อ

        วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักสัปปายะ 7 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท


2) เพื่อศึกษาแนวทางการเผยแผ่วิชาสมาธิสถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา 29 วัดสุทธจินดาจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อวิเคราะห์หลักสัปปายะ 7 ที่เกื้อกูลต่อการเผยแผ่วิชาสมาธิเพื่อความสันติสุขของสังคม ผลการศึกษาพบว่าปัญหาของสังคมไทยปัจจุบัน เกิดจากปัญหาความยากจน  อาชีพรายได้ไม่แน่นอน ปัญหาอาชญากรรม เกิดจากการขาดความอบอุ่นทางจิตใจ ปัญหายาเสพย์ติด ความอยากรู้และอยากทดลอง   และปัญหาโรคเอดส์ ขาดความรู้ในการป้องกันโรค ซึ่งสามารถลดปัญหาสังคมได้ด้วยการเจริญสมาธิ สร้างสติ และปัญญาตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จากปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยและคณะสนใจนำหลักสัปปายะ 7 มาเกื้อกูลต่อการเจริญภาวนาช่วยให้สมาธิตั้งมั่นไม่เสื่อมถอย สัปปายะ หมายถึง สิ่งที่สบาย สภาพที่เอื้อ สิ่งที่เกื้อกูล สิ่งที่เหมาะสมต่อการเจริญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่นไม่เสื่อมถอย มี 7 อย่าง คืออาวาสสัปปายะ โคจรสัปปายะ ภัสสสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชนสัปปายะ อุตุสัปปายะ และอิริยาปถสัปปายะ  อันเป็นเหตุปัจจัยให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าถึงจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพานและเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่กับชุมชนและสังคมต่อไป

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

วทัญญู ภูครองนา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง

สุทธิวิทย์ จันทร์ภิรมย์, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง

ประสิทธิ์ คำกลาง, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง

References

(วิ.ม. (ไทย) 4/1/117-118)
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มงคลชีวิต ภาค 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
มหามกุฏราชวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๒๗,
(กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557), หน้า ๒๐๙.
พระครูโสภณพุทธารักษ์ (ธมฺมรโส) และคณะ: 2560) (วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่
2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560))
พระพุทธโฆสาจารย์, คัมภีร์วิสุทธิมรรค,แปลโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร),
พิมพ์ครั้งที่ 4,(กรุงเทพมหานคร: บริษัทประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด, 2546), หน้า 22.
---------------. คัมภีร์วิสุทธิมรรค,แปลโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจอาสภมหาเถร),
พิมพ์ครั้งที่๖, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด), 2548, หน้า 220.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส,พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1, พิมพ์ครั้งที่
16,(กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2536), หน้า 10.
(PhraMongkulthepmunee (Sod Caṇdasaro JaisaigradA., 2016)
http://palipage.de/watam/buddhology/42-06.htm เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2020 09:41:4142-06
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=41203
http://www.clinicrak.com/messages/viewmessage.php?id=0366&maintype= (12 เมษายน 2547)
https://www.matichon.co.th/education/news_397205
จาก https://www.organicbook.com/mind/10