บทบาทความเชื่อเรื่องพญานาคในพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
เรื่องเกี่ยวกับนาค ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเช่น เรื่องพญามุจลินท์นาคราชในพุทธประวัติตอนตรัสรู้ เป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก เป็นต้น ในสุทธกสูตรกล่าวถึงพญานาคว่า มีกำเนิด 4 อย่าง คือ (1) เกิดในฟองไข่เรียกว่า อัณฑชะ (2) เกิดในครรภ์เรียกว่า ชลาพุชะ (3) เกิดในที่หมักหมมเรียกว่าสังเสทชะ และ (4) เกิดแล้วโตทันที เรียกว่า โอปปาติกะ ในหิตสูตร แบ่งพญานาคในกำเนิดทั้ง 4 ออกเป็น 4 ตระกูล คือ (1) ตระกูลวิรูปักขะ มีผิวกายเป็นสีทองคำ (2) ตระกูลเอราปักถะ มีผิวสีเขียว (3) ตระกูลฉัพยาปุตตะ มีผิวสีรุ้ง (4) ตระกูลกัณหาโคตมะ มีผิวสีดำ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุและปัจจัย ที่บุคคลเมื่อตายไปแล้วกำเนิดเป็นนาคทั้งสี่ตระกูล ล้วนกำเนิดด้วยอำนาจบุญ ได้บริจาคทาน และการตั้งปรารถนาอย่างแรงกล้าว่า เมื่อตนตายไปแล้ว ขอให้ได้เกิดเป็นนาค พญานาคมีหน้าที่ปกป้องค้ำชูพระพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องนาค เช่น พิธีบูชาบวงสรวงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
Article Details
References
องฺ.จตุก.อ. (ไทย) ๓๕/๖๗/๒๑๕.
ม.ม.อ. (ไทย) ๙/๒๑๙/๑๑.
กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์. (2551).ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์: ภาพรวมจากการสังเคราะห์
งานวิจัยวารสารคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 5, 1 (มกราคม-เมษายน 2551): 91-100
วิเชียร นามการ.( ๒๕๕๕) การศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีผลต่อสังคมไทย
ปัจจุบันวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
------------------- (๒๕๕๕). มหาภารตะ, น.๑๒
www.IMS,thaicyberu.go.th/official/tciaitcu/advcourse/, (๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕).
สุจิตต์วงษ์เทศ. (2546).นาคในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.
ภาษาต่างประเทศ
Howay, M. Oldfield. (1955). The Encircled Serpent a Study of Serpent
Symbolism in All
Countries and Ages. New York: Arthur Richmond Company.
Jumsai Na Ayutthaya, Sumet. (1988). Naga: Culture Origins in Siam and the
West Pacific.