การพัฒนาทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE) ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE) ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านมอญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผนการวิจัยทดลองเบื้องต้น (Pre Experimental Research Design) แบบกลุ่มเดียววัดผลหลังการเรียน (One-Shot Case study Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE) จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 2) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 เป็นแบบประเมิน จำนวน 4 ทักษะ ประกอบด้วย 1)การพยากรณ์ 2)การสังเกต 3)การจำแนกประเภท 4)การลงความเห็นจากข้อมูล มีเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบิค 4 ระดับ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจมีองค์ประกอบ 5 ด้านดังนี้ 1) ด้านครูผู้สอน 2) ด้านเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ด้านสื่อการเรียนรู้ 4) ด้านการวัดและประเมินผล 5) ด้านทางทักษะและประโยชน์ที่ผู้เรียนได้รับเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีค่าคะแนนทักษะการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 3.46 คิดเป็นร้อยละ 86.61 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีค่าคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 22.60 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.33 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 13 คนจากจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) นักเรียนมีคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.86,S.D. =0.31) โดยความพึงพอใจด้านครูผู้สอนเป็นอันดับ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.95, S.D. =0.17) ด้านการวัดและประเมินผลเป็นอันดับ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.89,S.D.=0.24)และด้านเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอันดับ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.85,S.D.= 0.36)
Article Details
References
ณริศรา อรรฑยมาศ (2559) การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและทักษะการวิเคราะห์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคทำนาย สังเกต อธิบายร่วมกับการใช้แผนภาพ. โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยตรัง
พัชรวรินทร์ เกลี้ยงนวล. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ Predict-Observe-Explain (POE) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม. 4 (3), 529-537.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : หจก.ทิพยวิสุทธิ์
Atkinson, R.C., & Shiffrin, R.M. (1968). Chapter : Human memory: A proposed system and its control processes. In Spence, K.W., & Spence, J.T. The psychology of learning and motivation (Volume 2). New York: Academic Press. pp. 89–195.
Lawson, A.E. (1995). Science Teaching and Development of Thinking. California: Allyn and Bacon.