การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการประยุกต์อัตราส่วนและร้อยละ ด้วยการจัดการเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐานและกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์อัตราส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยให้นักเรียนมีคะแนนทักษะกระบวนการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์อัตราส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 1 นครพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นการทดลองขั้นต้นประเภทวิจัยแบบกลุ่มเดียว การวัดผลการพัฒนาของผู้เรียนด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่องการประยุกต์อัตราส่วนและร้อยละ 13 แผน เวลา 13 ชั่วโมง 2) แบบวัดทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นแบบอัตนัยแสดงวิธีหาคำตอบและ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการประยุกต์อัตราส่วนและร้อยละ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการพัฒนาทักษะและกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์พบว่านักเรียนมีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 83.03 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 26.59 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 88.63 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 20 คน คิดเป็นร้อยละ 86.95 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
Article Details
References
กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
______. หลักสูตรแกนกลางการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด, 2551.
กรรณิการ์ หาญพิทักษ์ (2559) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสามเหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา
คำไข น้อยชมพู (2554) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่
เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องการบวก ลบ คูณ หารระคนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning), วิชาการ. 2(กุมภาพันธ์), 11-17
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555 ก). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.
ราตรี โพธิ์เลิง (2552), การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้น
ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาเรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวัสต์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น