การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลการสอนของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

Main Article Content

สายใจ สูนกามรัตน์
พระครูพิจิตรศุภการ
พระมหาสุพจน์ สุเมโธ
สุเวทิน ไกรนรา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการสอนของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบ่งอออกเป็น 3 ตอน สถิติในการวิเคราะห์ คือ ค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการอำนวยความสะดวกในงานวิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนในงานวิชาการ การประสานงานวิชาการ การนิเทศ ติดตามประเมิน และรายงานผลการประเมินวิชาการ ด้านการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์การบริหารงานวิชาการมี ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ประสิทธิผลการสอนของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ศักยภาพและสมรรถภาพของครูและบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ เน้นคุณภาพ  ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ส่วนความตื่นตัวในการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 3) การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลการสอนของครู มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์ .806

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สายใจ สูนกามรัตน์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูพิจิตรศุภการ, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระมหาสุพจน์ สุเมโธ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

สุเวทิน ไกรนรา, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

จารินีสิกุลจ้อย พจนีย์มั่งคั่ง และสุนันทา โกธา. (2561). “ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ดวงดาว ภูกา. (2562). “การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายการศึกษาผานางคอยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
นีลบล อุณาศรี. (2558). “ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับประสิทธิผลการทำงานของพนักงานครูโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พนัส ด้วงเอก. (2555). “การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พัชรี เหล็กเพ็ชร. (2562). “ความพึงพอใจของครูและผู้บริหารที่มีต่อการบริหารแบบมุ่งเน้นคุณภาพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
รสริญ เชยสาคร. (2560). “บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในการบริหารโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
วิภารัตน์ สิโรรส. (2560). “การพัฒนาแนวปฏิบัติในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง. http://www.siamvip.com/ManageFiles/ FileUploads/seamamueng/Docs. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์, 2564.

สายชล คงแสนคํา และยืนยง ไทยใจดี. (2563). “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารของครูกับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยสันตพล.
สุคนธา บุญลือ อัจฉรา นิยมาภาและกานดา สกุลธนะศักดิ์ มัวร์. (2561). “กระบวนการนิเทศการสอนของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศหอวังนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
หทัย ศิริพิน. (2558). “แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม (นครราษฎร์ประสิทธิ์)”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อิสริญญา ฉิมพลี พงศ์เทพ จิระโรและสมศักดิ์ ลิลา. (2560). “การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรครูโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา ด้านการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม”.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.