โปรแกรมพัฒนาชีวิตสำหรับครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

มนัสนันท์ ประภัสสรพิทยา
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
อำนาจ บัวศิริ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การพัฒนาชีวิตสำหรับครอบครัวตามหลักจิตวิทยาและหลักพุทธศาสนา 2) เพื่อสร้างและประเมินโปรแกรมพัฒนาชีวิตสำหรับครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพุทธจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกิจกรรมกลุ่ม จำนวน 5 รูป/คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสนทนากลุ่มเพื่อวิพากษ์และตรวจสอบความสอดคล้องของโปรแกรมพัฒนาชีวิตสำหรับครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมพัฒนาชีวิตสำหรับครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วยหลักธรรม คือ (1) พรหมวิหาร 4 (2) ไตรสิกขา โดยออกแบบกิจกรรมภายใต้กรอบภาวนา 4 ได้แก่ การพัฒนาทางกาย การพัฒนาทางสังคม การพัฒนาทางจิตใจและการพัฒนาทางปัญญา และหลักจิตวิทยา คือ (3) ทฤษฎีการเรียนรู้ของแบนดูร่า 2) โปรแกรมพัฒนาชีวิตสำหรับครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา ผ่านประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน ประกอบด้วย 9 กิจกรรม คือ (1) บ้านของฉัน (2) ธรรมะเจริญใจ (3) นิทานสอนใจ ดูสื่อสร้างสรรค์ (4) ธรรมสู่นิทรา (5) ธรรมรับอรุณ (6) โยคะหัวเราะ (7) ครอบครัวสื่อสารสร้างสรรค์ (8) อาหารสร้างสุข และ (9) พ่อแม่วางใจ 5 ห้องแห่งชีวิต โดยนำแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของแบนดูร่าบูรณาการกับแนวปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาและโยนิโสมนสิการ โดยฝึกวิธีคิดแบบสามัญลักษณะเข้าใจความเป็นจริงตามกฏธรรมชาติด้วยหลักการและรูปแบบการสอนมาใช้จัดกิจกรรมแบบผสมผสาน เลือกใช้เทคนิคการดำเนินการกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้พ่อแม่ได้การเรียนรู้ร่วมกับลูก เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับการอบรมมีการพัฒนาตนเองและเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น สามารถนำไปไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้น

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา , Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

อำนาจ บัวศิริ, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และคณะ. (2563). ผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธ สำหรับเยาวชนในศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(3). 34-52.
กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์ และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อสัมพันธ์ภายในครอบครัวไทย. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 10(2). 152.
ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์ และคณะ. (2551). การพัฒนามาตรวัดสุภาวะองค์รวมแนวพุทธ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 17(6). 1650-1661.
พระครูสิรธรรมานุยุต (อภิรมย์ พลชะนะ) (2551). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการครองเรือนในครอบครัวไทยปัจจุบัน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพรัตนสุธี. (2557). การดูแลบิดามารดาตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 1(2).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2554). คุณบิดามารดา สุดพรรณนามหาศาล. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.
พระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท. (2562). การจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 4. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(3), 800.
พระวิทูรย์ ฐานงฺกโร (เจือจันทร์). (2554). ศึกษาการอบรมเลี้ยงดูของชาวพุทธที่มีต่อความเชื่อในการให้ทาน และการให้ความช่วยเหลือต่อผู้อื่น กรณีศึกษาอุบาสก อุบาสิกา ที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศศิจิต พร้อมสัมพันธ์ (2557). การพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาวะของเด็กตามหลักภาวนา 4 :กรณีศึกษากลุ่มรักลูกให้ถูกธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2541). ปัญหาในพระพุทธ ศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 47.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Bandura A. (1965). Behavior Modification through Modeling Procedures.”. In L. Krasner & L. P. Ullman (Eds.). Research in behavior modification. New York: Holt. Rinehart & Winston.
Duvall. E. M. (1977). Marriage and Family Relationships. 5th ed. Philadelphia: Lippincott.