บทบาทและหน้าที่ของพลเมืองตามแบบนววิถีประชาธิปไตยในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นภายใต้นโยบายประชารัฐ : กรณีศึกษาชุมชนดงฟ้าห่วน บ้านหนองมะนาว หมู่ที่ 7 เทศบาลตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สุรพล ซาเสน
สุมิตรชา ซาเสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและพลวัตการเปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่พลเมืองตามแนวนววิถีประชาธิปไตยของชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวทางนโยบายและพื้นที่ต้นแบบต่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชากรในชุมชนดงฟ้าห่วน ตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 27 คน โดยใช้เครื่องคือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยพรรณนาวิธี  ตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 291 คน โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทและพลวัตการเปลี่ยนแปลงและบทบาทและหน้าที่พลเมืองตามแบบนววิถีประชาธิปไตยของชุมชนดงฟ้าห่วน พบว่า  วิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนหนองมะนาวโดยส่วนใหญ่ก็ทำอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไปเป็นหลัก  สมาชิกในชุมชนบ้านหนองมะนาวมีลักษณะ ทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกันตามสภาพโดยทั่วไปแต่ก็มีอัตลักษณ์รวมกัน ได้แก่ อัตลักษณ์บุคคล จิตใจ ความคิด  บุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย ความประพฤติ ค่านิยมและที่เหมือนกันมากที่สุด คือ ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษและบุพการี การแสดงความเคารพต่อผู้อาวุโส มีความภาคภูมิใจในความเป็นชุมชนของตนเอง 2) ผลการศึกษาแนวทางนโยบายและพื้นที่ต้นแบบต่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น พบว่า แนวทางนโยบายและพื้นที่ต้นแบบต่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งสามารถวิเคราะห์และจำแนกผลของการศึกษาวิจัย 6 ด้าน ซึ่งเรียงลำดับจากข้อที่มีค่ามากไปหาน้อยที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (=4.59), รองลงมา คือ ด้านสิทธิพลเมืองภายใต้จิตสำนึก ความเป็นชุมชน (=4.53) , ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น (=4.52), ด้านการเรียนรู้และการแสดงเจตจำนงสาธารณะ (=4.50) , ด้านความรับผิดชอบต่อชุมชน (=4.49) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านวิถีชีวิตชุมชนในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น (=4.43)  ตามลำดับ  

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุมิตรชา ซาเสน, อาจารย์ ดร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Ubon Ratchathani Rajabhat University

References

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชยและจรูญ พานิชย์ผลินไชย. (2560). ความเป็นพลเมืองของนิสิต
ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร.สักทองวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2560. 1,
นิภาพร รัตนปรียานุช. (2556). ความต้องการในการพัฒนาชุมชนขอประชาชนในเขเทศบาล
ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรมต วรรณบวร, สุรพล สุยะพรหม และบุษกร วัฒนบุตร. (2560). ความเป็นพลเมืองเพื่อ การส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่น. วารสาร มจร. สังคมปริทัศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2
เมษายน-มิถุนายน 2560. 85.
พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์. (2560). หลักประชาธิปไตยเรื่อง : การเป็นพลเมืองที่ดีตามวิถี
ประชาธิปไตย. วิทยาลัยธรรมนูญ สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาล
รัฐธรรมนูญ.
รสสุคนธ์ มกรมณี. (2556). พฤติกรรมความเป็นพลเมืองของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีที่ 5
(2556). 74,
สิริยา รัตนช่วย. (2560). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นภายใต้พลวัตของโลกยุคใหม่. วารสาร การเมืองการปกครอง ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-เมษายน 2560. 7สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย.
กรุงเทพฯ : สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/theory-of-satisfaction-of-basic-needs.html\ ค้นคว้า วันที่ 9 พฤศจิกายน 2559.
Douglas Schuler. (1996). New Community Networks. Wire for Change, New
York: AMC, Press.
Jacob Viner, (1986). The assumptions of Jacob Viner’s Theory of customs
union. Journal of International Economic, 2:75-93.