การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิล โดยใช้อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งเป็นฐาน

Main Article Content

ภัครพล อาจอาษา
วิโรจน์ อภินันท์ธนากร
ประมุข ศรีชัยวงศ์
วิระพงศ์ จันทร์สนาม

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลโดยใช้อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งเป็นฐาน 2) เพื่อประเมินคุณภาพของเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลโดยใช้ อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งเป็นฐาน 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลโดยใช้ อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งเป็นฐาน 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลโดยใช้ อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งเป็นฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงปลานิลกระชัง เขื่อนลำปะทาว จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลโดยใช้อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งเป็นฐาน แบบประเมินคุณภาพของเทคโนโลยี แบบประเมินผลการใช้เทคโนโลยี และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลโดยใช้อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งเป็นฐานโดยระบบจะทำการรับข้อมูลจากอุปกรณ์เซนเซอร์ 3 ตัว คืออุปกรณ์เซนเซอร์วัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ อุปกรณ์เซนเซอร์วัดค่าอุณภูมิของน้ำอุปกรณ์เซนเซอร์วัดค่าความเป็นกรดเป็นเบสของน้ำ เชื่อมต่อผ่าน ไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อรวบรวมข้อมูลและทำการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากเซนเซอร์ จากนั้นส่งข้อมูลไปแสดงผลบนหน้าเว็บบราวเซอร์ที่ผ่านระบบ 3G/4G เพื่อแสดงผลข้อมูลคุณภาพน้ำที่ทำการตรวจวัดค่าด้วยเซนเซอร์ทั้ง 3 ตัวแบบเรียลไทม์ พร้อมแสดงผลสถานะของเครื่องเติมอากาศและเครื่องให้อาหารปลา ส่วนการควบคุม จะเป็นการควบคุมเครื่องเติมอากาศและเครื่องให้อาหารปลา โดยสามารถปรับระบบได้ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบควบคุมด้วยตนเอง  2) ผลประเมินคุณภาพของเทคโนโลยีอยู่ในระดับดี   (=4.23, S.D.= 0.58)  3) ผลการประเมินผลการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับดี (=4.44, S.D.=0.62) 4) ผลการสอบถามความพึงพอใจของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก (=4.46, S.D.= 0.61)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

วิโรจน์ อภินันท์ธนากร, , คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Chaiyaphum Rajabhat University

ประมุข ศรีชัยวงศ์, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Chaiyaphum Rajabhat University

วิระพงศ์ จันทร์สนาม, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Chaiyaphum Rajabhat University

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม: พฤษภาคม 2559.
พัชราวลัย ศรียะศักดิ์ นิวุฒิ หวังชัย ชนกันต์ จิตมนัส (2014). ผลกระทบจากสภาพอากาศและฤดูกาลต่อคุณภาพนํ้าในบ่อเลี้ยงสัตว์นํ้า. KKU Res. J., 19, 743-751.
ประคุณ ศาลิกร โสมสกาว เพชรานนท์. (2018). การลงทุนเลี้ยงปลานิลเพื่อการพาณิชย์ในจังหวัดนครปฐม. (1), 40-54%V 43.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12.
Abir Tawfeeq, H. A. S. A. W., K.Vijayalakshmi. (2019). IoT based Aquaculture system with Cloud analytics International Journal of Applied Engineering Research, 14, 4136-4142.
Duang-Ek-Anong, S., Pibulcharoensit, S., & Phongsatha, T. (2019). Technology Readiness for Internet of Things (IoT) Adoption in Smart Farming in Thailand. International journal of simulation: systems, science & technology. doi:10.5013/IJSSST.a.20.05.12
Truong, T. M., Phan, C. H., Van Tran, H., Duong, L. N., Van Nguyen, L., & Ha, T. T. (2020, 2020//). To Develop a Water Quality Monitoring System for Aquaculture Areas Based on Agent Model. Paper presented at the Fourth International Congress on Information and Communication Technology, Singapore.