รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในหลักสูตรปริญญาตรี ด้านศิลปวัฒนธรรมของสถานศึกษาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

Main Article Content

ภูริ วงศ์วิเชียร
ประวีณา เอี่ยมยี่สุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ active Learning ในการจัดการเรียนรู้ด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ ในระดับปริญญาตรี ของสถานศึกษาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้แบบ active Learning ของสถานศึกษาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม และ3)เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้แบบ active Learning ของสถานศึกษาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม โดยมีรูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการประยุกต์ใช้วิธีเดลฟาย (Delphi method) ในการการยืนยันผลการวิจัยที่ค้นพบ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้สอนด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ ของสถานศึกษาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 72 คน ผลการวิจัยพบว่า


1) รูปแบบการสอนการจัดการเรียนรู้แบบ active Learning ในการจัดการเรียนรู้ ด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ ประกอบด้วย (1) การเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นภายในชั้นเรียน (2) การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการเรียนรู้ด้วยตนเอง (3) การสร้างการมีส่วนร่วมการแสดงความคิดเห็นและการทำงานร่วมกับผู้อื่นภายในชั้นเรียน (4) การนำเสนอผลงานและอภิปรายผลร่วมกัน (5) การใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประกอบการเรียนรู้ และ (6) การให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหา สร้างแรงจูงใจ และประเมินผล โดยผู้สอน 2) สภาพปัญหาและอุปสรรค ในการจัดการเรียนรู้แบบ active Learning ด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ ประกอบด้วย (1) การขาดความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษา (2) ผู้เรียนขาดประสบการณ์และทักษะ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้แบบ Active Learning (3) ข้อมูลในการสืบค้นไม่เพียงพอ ไม่ครบถ้วน และขาดความถูกต้อง (4) การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ใช้เวลาในการเรียนรู้และค่าใช้จ่ายสูง (5) สภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสถานศึกษา ไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ (6) ผู้สอนขาดความเข้าใจและประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อย่างถ่องแท้ 3) วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดในการจัดการเรียนรู้แบบ active Learning ในการจัดการเรียนรู้ด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ ประกอบด้วย (1) การปรับเปลี่ยนรูปแบบและกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการเรียนรู้ของผู้เรียน และกิจกรรมของสถานศึกษา (2) การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เร้าความสนใจ เสริมสร้างกระบวนการคิด และทักษะการวิเคราะห์ ร่วมกับผู้เรียน (3) การปรับใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับกิจกรรมและเนื้อหาการเรียนรู้ (4) การสร้างสื่อและกำหนดแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน (5) การจัดหาวัสดุทดแทนและการบริหารงบประมาณเพื่อลดค่าใช้จ่ายและ (6) การศึกษาหาความรู้และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ระหว่างผู้สอน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ประวีณา เอี่ยมยี่สุ่น, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.,สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Bunditpatanasilpa Institute

References

ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ และธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว. (2560). การสอนแบบทันสมัยและเทคนิค
วิธีสอนแนวใหม่. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562.
https://regis.skru.ac.th/RegisWeb/webpage/addnews/data/2017-07-24_078.pdf.
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2563). การ
จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning.
http://www.mct.rmutt.ac.th/km/?p=786. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562.
จิตณรงค์ เอี่ยมสำอาง. (2558). Active Learning แนวทางในการจัดการเรียนรู้สำหรับ
ผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21. http://chitnarongactivelearning.blogspot.com/. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2562.
จิรายุทธิ์ อ่อนศรี. (2561). ACTIVE LEARNING สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.
http://www.nwm.ac.th/nwm/wp-content/uploads/2018/03/ACTIVE-LEARNING- f
ธิดารัตน์ เอกศิรินิมิต. (2554). ประสบการณ์การสอน PBL ของสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์.
จุลสาร PBL วลัยลักษณ์. ปีที่ 4 ฉบับบที่ 2 มิถุนายน 2554. หน้า 9-10.
ปิยะพล ทรงอาจ. 2563. Active Learning: การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เทคนิคการ
สอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2563 หน้า 135 – 142.
พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active
Learning). วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560 หน้า327-336.
รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสาระการเรียนรู้การศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเอง. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563). หน้า 104 – 113.
วิชัย เสวกงาม. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. เอกสาร
ประกอบการบรรยาย การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ณ ห้อง
ประชุมลีลาวดี ชั้น 1 อาคารเรียน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 19 กุมภาพันธ์ 2559
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพฯ.:
ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2551). พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ.2550.
ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 32 ก.
สุทัศน์ ภูมิภาค. (2562). Active Learning คืออะไร? สอนยังไงให้เป็น Active Learning?.
https://www.kruupdate.com/6998/. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2562.



สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (2563). คู่มือการ
พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา มิติคุณภาพที่ 2 การจัดการเรียนรู้. กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
[Active Learning]. http://www.secondary35.go.th/wp-content/uploads/2019/12/book10-62.pdf. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2562.
ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
(2558). การเรียนรู้แบบ Active Learning. ข่าวประกันคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ฉบับที่ 335 ปักษ์แรก พฤษภาคม พ.ศ. 2558.