การจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

มยุเรศ มัชฌิโม
รุ่งลาวัลย์ ละอำคา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านม่วงท่าลาด ตำบลม่วงลาด อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงลาด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา แบบทดสอบเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการที่มุ่งให้เด็กเกิดสมาธิ จดจ่อและรู้จักกำกับตนเอง เข้าใจตนเองและผู้อื่นในบรรยากาศที่ผ่อนคลายสงบ อบอุ่น ปลอดภัย ให้โอกาส สนับสนุนความแตกต่างระหว่างบุคคลประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ปรับกายใจให้พรั่งพร้อม (2) น้อมเปิดใจเรียนรู้ (3) มุ่งสู่ประสบการณ์ใหม่ และ (4) คิดใคร่ครวญการเรียนรู้ 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามีพฤติกรรมการมีสมาธิหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

รุ่งลาวัลย์ ละอำคา, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Rajabhat Mahasarakham University

References

จริยาภรณ์ สกุลพราหมณ์. (2557). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตต
ปัญญาศึกษาและแนวคิดประสบการณ์ที่นำไปสู่ศักยภาพการเรียนรู้สูงสุดเพื่อพัฒนา ความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2555, 23 มิถุนายน). จิตวิวัฒน์ : การตกผลึกและการระเบิด
ประสบการณ์ ทางจิตตปัญญาทัศน์และจิตตปัญญาปฏิบัติ. มติชน, น. 6.
ฐิติยา สุ่นศรี. (2561). กิจกรรมฝึกสมาธิสำหรับเด็กปฐมวัย. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
https://www.youngciety.com/author/plailom.html. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10
พฤศจิกายน
ณิชพัณณ์ ดิลกวงวัฒน์. (2560). เคล็ดลับฝึกลูกให้มีสมาธิ. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
https://www.parentsone.com/teach-your-child-to-focus/ เข้าถึงข้อมูล
วันที่ 20 มีนาคม 2563.
ดาวรุ่ง ริ้วงาม. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมสวดมนต์ภาวนาแบบคาทอลิกที่มีต่อการ
พัฒนาสมาธิของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 29-41.
พระราชวรมุนี ประยูร ธมมจิตโต. (2563). สมาธิในชีวิตประจำวัน. [เว็บบล็อก].
สืบค้นจาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp-prayoon/lp-
prayoon-03.htm เข้าถึงข้อมูลวันที่ 21 เมษายน 2563.
พัชนี บุญรัศมี, มณเฑียร ชมดอกไม้ และศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2562). การพัฒนา
หลักสูตรเสริมทักษะการรู้เรื่องการอ่านตามแนวจิตตปัญญาศึกษา สำหรับเด็กที่มี
ความบกพร่องทางการเรียนรู้. ครุศาสตร์ปริทรรศน์, 6(3), 102-110.
มณีรัตน์ ภูทะวัง. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อฝึกสมาธิเด็ก
ปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ละอองธาร. (2561). พบแต่สิ่งดีดีเพราะมี “สมาธิ”. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิพเพรส จำกัด.
วิฐารณ บุญสิทธิ. (2555). โรคสมาธิสั้นการวินิจฉัยและรักษา. [เว็บบล็อก]. สืบค้น
จาก http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/57-4/00-Vitharon.pdf
เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562.
วิศิษฐ์ วังวิญญู, วิธาน ฐานะวุฑฒ์ และณัฐฬส วังวิญญู. (2550). คู่มือกระบวนการศาสตร์และ
ศิลป์แห่งการหันหน้าเข้าหากัน. กรุงเทพฯ; วงน้ำชา.
วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2553). ฉลาดได้อีก. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ; ดีเอ็มจี.
สการินทร์ บุตรโพธิ์. (2556). การพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
สร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างสมาธิสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. (2560). คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มี
อาการสมาธิสั้นสำหรับผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ; สยามพิมพ์มานา.
สุริยเดว ทรีปาตี. (2561). โรคสมาธิสั้น. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
https://news.thaipbs.or.th/content/269356. เข้าถึงข้อมูลวันที่
10 พฤศจิกายน 2562.