รูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล สวัสดิการผู้สูงอายุ ปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุ นโยบายสาธารณะมาตรการต่างๆ กับรูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านสุขภาพของกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านสุขภาพของสุขภาพผู้สูงอายุเขตตะวันออกกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง 3) เพื่อหาปัจจัยที่ร่วมกันพยากรณ์ความมั่นคงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 384 คน ซึ่งได้จากด้วยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้สัดส่วนความน่าจะเป็น (Probability Random Sampling) และผู้สูงอายุที่ให้ข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล รูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านสุขภาพด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและแบบสัมภาษณ์ เครื่องมือทุกชุดผ่านการทดสอบความเที่ยงด้านเนื้อหา( Item Objective Congruence Index) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ทั้งฉบับเท่ากับ .82 ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ครอนบาคของอัลฟ่า (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์แบบพหุคูณที่ระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุของความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.73, SD = .53) 2) นโยบายสาธารณะมาตรการด้านต่างๆ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับรูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .648**, p = .000) 3) ปัจจัยที่สามารถร่วมกันการพยากรณ์ความมั่นคงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่ มีตัวแปรสวัสดิการผู้สูงอายุ ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุและนโยบายสาธารณะและมาตรการต่าง ๆ ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 สามารถร่วมกัน การพยากรณ์รูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =.000) สามารถอธิบายความผันแปรของรูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 52.5 (R2 = 0.525)
ผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์และปัจจัยพยากรณ์ของสวัสดิการผู้สูงอายุ ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ นโยบายสาธารณะและมาตรการต่าง ๆ มีผลต่อรูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ มีผลนำไปประยุกต์ใช้ในการบริการที่ผู้สูงอายุต้องการการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่หรือทีมดูแลสุขภาพ ให้ได้สอดคล้องกับวิถีและวัฒนธรรมและคุณค่าของผู้สูงอายุในสังคม
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข.(2557). จุลสารโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ. กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี.
ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล. (2557). คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2552). การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเนื่องจากความชรา. ตำราอายุรศาสตร์:โรคตามระบบ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
______. (2552). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: ยูเนียน ครีเอชั่น.
สำนักงานเขตหนองจอก. (2558). สถิติประชากรแยกรายอายุ. กรุงเทพ ฯ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. (วันที่ค้นข้อมูล: 4 มกราคม 2559).
ชรินทร์ พีรยานันท์. (2563). การศึกษานโยบายและมาตรการเชิงกลยุทธ์ในการดูแลสวัสดิการ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุไทย.วารสารสหสาขาวิชาสังคมศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับที่ (กันยายน- ธันวาคม ): 19-37.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์ .(2557).สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย.วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1. (มกราคม–มิถุนายน 2557): 121-128.
สุมาลัย วรรณกิจไพศาล. (2562). การพัฒนาการจัดรูปแบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมเทศบาลเมืองปากช่อง. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาปีที่ 3 ฉบับที่ 2. สำนักงาน: 90-104.
สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 31 (กันยายน–ธันวาคม 2560): 57-69.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). Determinining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. v. 30, 607-610.
World Health Organization. (2007). Global Age-friendly Cities: A Guide. World Health Organization. France.