การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

ละดา ดอนหงษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 2) ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดหนองบัวลำภู ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่1 การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการระดับปฐมวัยและครูผู้สอนปฐมวัย จำนวน 63 คน จาก 21 โรงเรียน เครื่องมือวิจัย คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่2 การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการปฐมวัย และครูผู้สอนปฐมวัย จำนวน 9 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ประเมินความเป็นไปได้ จำนวน 7 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนเอกชนจังหวัดหนองบัวลำภู อยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดหนองบัวลำภู ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พบว่า มีการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในประเด็นที่มีปัญหาสูงสุด 2 ลำดับแรกในแต่ละด้านทั้ง 5 ด้าน คือ (1) ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา (2) ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา (3) ด้านการนำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ (4) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผลและ (5) ด้านการปรับปรุงพัฒนา 4) ความเป็นไปได้ของแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560.
กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จันทร์จิรา บุรีมาศ (2556). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน
ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา”วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2556,หน้า 114-132.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์อลีนเพลส.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
นันทนิตย์ อริยสัจ. (2555). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา
ปฐมวัยของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดจันทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรำไพพรรณี.

รัตนา อินทะชัย. (2559). แนวทางการบริหารงานวิชาการการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน
ขนาดเล็กสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
สุกัญญา ประมายะยัง. (2560). “การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32”. ในรายงานการประชุม
วิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม 2560. หน้า 716-722.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. บริษัทพริกหวาน จำกัด.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองบัวลำภู. (2560 ). แผนปฏิบัติการประจำปี 2561.
กลุ่มนโยบายและแผน, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองบัวลำภู.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี. (2561). คู่มือพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กลุ่มนิเทศการศึกษา,
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี.