นวัตกรรมการเสริมสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมผ่านยุทธศาสตร์ วิชาชีวิตพฤฒพลังเพื่อสร้างสังคมคุณภาพทุกช่วงวัย รองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมผ่านยุทธศาสตร์ วิชาชีวิตพฤฒพลังเพื่อสร้างสังคมคุณภาพทุกช่วงวัยรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) จากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาและสร้างกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีศักยภาพของแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมผ่านยุทธศาสตร์ วิชาชีวิตพฤฒพลังเพื่อสร้างสังคมคุณภาพทุกช่วงวัยรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์ ผลการศึกษา พบว่า นวัตกรรมการเสริมสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคม ประกอบด้วย 1) แรงสนับสนุนทางอารมณ์และความเพลิดเพลิน 2) การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารและการเข้าถึงข้อมูล 3) การสนับสนุนด้านสิ่งของ 4) ความรู้ในสารสนเทศ 5) ประโยชน์ในการใช้งาน 6) การสนับสนุนกลุ่มเครือข่ายและความสัมพันธ์เชิงสถาบัน 7) ทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ยุทธศาสตร์ วิชาชีวิตพฤฒพลัง ประกอบด้วย 1) หลักสุขภาพ 2) หลักการเรียนรู้ 3) หลักสังคม 4) หลักเศรษฐกิจ และ สังคมคุณภาพทุกช่วงวัยรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 1) กายภาพ/ร่างกาย 2) สังคมและวัฒนธรรม 3) สติปัญญาและความคิด 4) สภาพแวดล้อม 5) ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและรายได้ 6) อารมณ์และจิตใจ
Article Details
References
ขาหักภายหลังการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายใน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน ปีที่ 23 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2560) 629-642.
คัมภิรัตน์ แก้วสุวรรณะ (2017) นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุ
ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ปี
ที่ 2 ฉบับที่2 (มกราคม-มิถุนายน 2560) 28-42.
จันทนา สารแสง (2561) คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลทุ่ง
ข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย เชียงใหม่
เจษฎา นกน้อย (2560) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา, วารสารมหาวิทยาลัย
นราธิวาสราชนครินทร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2560) 94-103.
ทิพย์ธิดา ณ นคร (2561) การเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพฤฒพลังในบริบทสังคมไทย
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2560 https://thaitgri.org/?page_id=35858
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, (2560), กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กรุงเทพฯ
วนัสนันท์ แฮคำ (2553) การศึกษาการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุชุมชนเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อินทุกานต์ กุลไวย (2552), การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง
กับความสามารถในการดูแลตนเอง, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.