การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นคนตีเหล็กเพื่อการพึ่งตนเองด้านการศึกษาอย่างยั่งยืน : ชุมชนบ้านสี่แยกปี้ ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อรรครา ธรรมาธิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติภูมิปัญญาท้องถิ่นความเป็นมาของคนตีเหล็กเพื่อการพึ่งตนเองด้านการศึกษาอย่างยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นคนตีเหล็กเพื่อการพึ่งตนเองด้านการศึกษาอย่างยั่งยืน : ชุมชนบ้านสี่แยกปี้ ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 43 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตีเหล็กชุมชนสี่แยกปี้ ในอดีตบรรพบุรุษได้อพยพมาจากทางภาคเหนือและภาคอีสาน โดยมี คุณปู่สมิด รัตนบุรี ซึ่งเป็นคนจังหวัดแพร่ ในวัยหนุ่มได้มาแต่งงานกับคุณย่าดวง เพชรอาวุธ ซึ่งเป็นชาวแยกบ้านปี้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2506 และได้ตั้งถิ่นฐานที่ชุมชนบ้านสี่แยกที่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาและเป็นผู้มีความรู้ในการตีเหล็กที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่เคยทำในจังหวัดแพร่มาก่อน มาประกอบเป็นอาชีพการตีเหล็กที่บ้านสี่แยกปี้ ส่วนอีกกลุ่มเป็นกลุ่มครัวเรือน ที่รุ่นปู่ย่าได้อพยพมาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาตั้งถิ่นฐานที่ชุมชนบ้านสี่แยกปี้ ในปี พ.ศ.2511 คือคุณปู่หมาย ปราบพล เนื่องจากในจังหวัดร้อยเอ็ด ในขณะนั้นมีการตีเหล็กกันเป็นจำนวนมาก จนเกิดการแข่งขันกันสูง ซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนได้รับการถ่ายทอดความรู้การตีเหล็กมาจากบรรพบุรุษ และนำมาประกอบอาชีพการตีเหล็กที่ชุมชนบ้านสี่แยกปี้ และได้ถ่ายทอดความรู้ในกับรุ่นลูกรุ่นหลานเพื่อที่จะได้ยึดเป็นอาชีพจนถึงปัจจุบัน 2) การที่คนตีเหล็กรู้จักการนำกรรมวิธีในการตีเหล็กของบรรพบุรุษมาจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่ เป็นการเพิ่มรายได้ และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เช่น มีดกรีดยาง มีดพร้า มีดตัดปาล์ม เหล็กปอกมะพร้าว ขวาน จอบ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการตีเหล็กมาผลิตชิ้นงานที่ใช้ในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น เช่น มีดอีโต้ มีดหั่นหรือมีดทำครัว ทำให้สินค้าที่ผลิตได้ตรงกับความต้องการของตลาดอีกทั้งชาวบ้านที่ประกอบอาชีพตีเหล็กในชุมชนบ้านสี่แยกปี้ ยังได้รวมตัวกันเป็นสมาชิกกลุ่มตีเหล็ก รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้าน ได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจซึ่งรวมตัวกันเป็นสมาชิกกลุ่มตีเหล็ก ทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการตีเหล็กได้รับการถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่มากขึ้น


 

Article Details

บท
Research Articles

References

ณรงค์ พ่วงพิศ. (2551). ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในแดนประเทศไทย. กรุงเทพฯ :
อักษรเจริญทัศน์.
ดวงฤทัย อรรคแสง. (2552). กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ย้อม
ธรรมชาติ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2542). วิกฤตสังคมไทย 2542 กับบทบาทวิทยากรกระบวนการ เล่ม 2.
กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน.
ธวัช ปุณโณทก. (2531). ทิศทางหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ : เจริญการพิมพ์.
______. (2531). ภูมิปัญญาชาวบ้านอีสาน ทัศนะของอาจารย์ปรีชา พิณทองทิศทาง
หมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.
นันทวุฒิ ป้องขันธ์. (2556). การจัดการภูมิปัญญาในการผลิตผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ อำเภอ
บ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปฐม นิคมานนท์. (2535). การค้นหาความรู้และระบบถ่ายทอดความรู้ ในชุมชนชนบทไทย.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ผอบ ชณะวรรณโณ. (2546). วัฒนธรรมการตีเหล็กบ้านนาป้อ ตำบลควนปริง อำเภอ
เมืองตรัง จังหวัดตรัง. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุดารัตน์ ภัทรดุลพิทักษ์ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าฝ้ายย้อม
สีเปลือกไม้บ้านโนนศึกษา ตำบลนาอุดม อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด.