การท่องเที่ยวไทยแลนด์แดนสยามยุคโควิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวไทยแลนด์แดนสยามยุคโควิดซึ่งในประเทศไทยมีแบ่งการท่องเที่ยวออกเป็นหลากหลายรูปแบบให้เลือก อาทิ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวเฉพาะทาง การจัดการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุก ๆ กิจกรรมของการจัดการท่องเที่ยว ตามคุณลักษณะของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้แก่ 1) เป็นการท่องเที่ยวที่มีความต่อเนื่อง (Continuity)ของวัฒนธรรมรวมถึงสามารถมอบประสบการณ์นันทนาการที่ดีแก่นักท่องเที่ยวด้วย 2) เป็นการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ (Quality) เน้นคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ประสบการณ นันทนาการและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และ 3) เป็นการท่องเที่ยวที่มีความสมดุล (Balance) ระหว่างความต้องการของนักท่องเที่ยวของคนในชุมชนและขีดความสามารถของทรัพยากร หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 คลี่คลายกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้กำหนดยุทธศาสตร์การฟื้นฟูการท่องเที่ยว โดยการให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ สร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคนักท่องเที่ยวเกิดการใช้จ่ายจากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อก่อให้เกิดรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมไปถึงผู้ประกอบการ SME และการจ้างงานภาคประชาชนในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจภาคโรงแรม สายการบิน ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว ภายใต้ความปกติใหม่ (New Normal)กระตุ้นไทยเที่ยวไทยด้วยรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและบริการที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) ภายใต้นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว 4 ประการ คือ ความปลอดภัย (Safety) ความสะอาด(Clean) ความเป็นธรรม (Fair) และกระจายรายได้สู่ชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสู่ความยั่งยืน(Sustainability)
Article Details
References
ไวรัสโควิด-19. แหล่งที่มา https://www.mof.go.th/th/view/attachment/file/
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562), ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนสมัยพิเศษ ว่า
ด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). (Online), แหล่งที่มา https://www.mots.go.th/Newsview.php?nid=12639 (25 มกราคม 2564)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
(2540). โครงการดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
คำนวล ชูมณี. (2554). โมเดลแสดงอิทธิพลของคุณภาพบริการของโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต
กระบี่และพังงา ต่อความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยว. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
มติชนออนไลน์. รวมมาตรการ ‘รบ.’ เยียวยาทุกกลุ่มบรรเทาพิษ‘โควิด’ กลุ่มประชาชนทั่วไป
https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news
_2094206 (25 มกราคม 2564)
รัฐบาลไทย. ธุรกิจท่องเที่ยว ปรับตัวรับชีวิตวิถีใหม่. (Online), แหล่งที่มา
https://www.thaigov.go.th/infographic/contents/details/3322
ธีระ อินทรเรือง. (2559). การวางแผนพัฒนาและการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. เอกสาร
ประกอบการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
รำไพพรรณ แก้วสุริยะ. (2545). การจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. เอกสารประกอบ
การบรรยาย โครงการ เผยแพร ่ความรู้ด้านการท่องเที่ยวผ่านเว็บไซต์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สยามรัฐออนไลน์. โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเป็นอันดับหนึ่ง
ของโลก. แหล่งที่มา https://siamrath.co.th/n/146002 (25 มกราคม 2564)