ฮดสรง: พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ผ่านความศรัทธาของชุมชนในสังคมอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพิธีฮดสรงในภาคอีสานพบว่าการฮดสรง เป็นพิธีกรรมที่ชาวพุทธในแถบภาคอีสานได้กระทำสืบต่อกันมาด้วยความศรัทธา คือ การรดน้ำพระภิกษุสามเณรที่ชาวบ้านมีมติเหตุสมควรและมีคุณสมบัติความเหมาะสม เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาโดยมีการคัดเลือกพระภิกษุสามเณรเพื่อเข้าประกอบพิธีฮดสรงซึ่งการคัดเลือกนั้นมีการดูจากจริยาวัตรหรือบุคลิกภาพของพระภิกษุหรือสามเณรรูปนั้นว่ามีงดงามหรือเป็นที่นับถือเคารพยกย่องของพุทธศาสนิกชนทั่วไปเพื่อนิมนต์มาประกอบพิธีกรรมการฮดสรง พิธีเถราภิเษกฮดสรงเป็นงานประเพณีโบราณ ที่ชาวอีสานได้รับมาปฏิบัติจาก ราชอาณาจักรลาวในอดีตและกระทำสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนเป็นพิธีที่ชาวพุทธอีสาน ประกอบขึ้นเพื่อประโยชน์อย่างน้อย๒ประการ คือเพื่อเป็นการถวายชั้นยศหรือสมณศักดิ์แด่ พระมหาเถระ พระสงฆ์สามเณรผู้ทรงคุณและปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อีกนัยหนึ่งกล่าวกันว่านอกจากจะเป็นศิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมพิธีดังกล่าวแล้วเชื่อกันว่าผู้เข้าร่วมนั้นจะประสบแต่ความสุขสวัสดิ์ด้วยจตุรพิธพรคืออายุ วรรณะ สุข และกำลังสติปัญญา พร้อมลาภยศ เพราะถือว่าเป็นผู้ได้ร่วมฮดสรงพระมหาเถระผู้มีความรู้ทางธรรม และจะได้รับส่วนแห่งบุญวาสนาบารมีของท่านเหล่านั้น
Article Details
References
พระอริยานุวัตร เขมจารี.(2536) “คติความเชื่อของชาวอีสาน ในวัฒนธรรมพื้นบ้าน”,
บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิจิตรา เปรมปรี.(2550).ความศรัทธาในพุทธศาสนากับการเห็นคุณค่าในตนเองของผูสูงอายุ
ในชมรมผูสูงอายุอําเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. มหาบัณฑิต :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำลี รักสุทธี.(2544). สืบสานตำนานงานบุญประเพณีอีสาน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สุมน อมรวิวัฒน.(2525) การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพฯ:
คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
วัดโนนสว่าง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี.(2563).พิธีกรรมเถราภิเษก(ฮดสรง).
ออนไลน์, http://www.watnon.com/watn/index.php?option=com_ content&view=article&id=58&Itemid=60.