วัฒนธรรมอาเซียนยุคโลกาภิวัตน์: เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

จารุกิตติ์ พิริยสุวัฒน์
พระราชปรีชามุนี
พระปลัดธนากร สนฺตมโน
พระครูสิทธิธรรมาภรณ์

บทคัดย่อ

สังคมยุคโลกาภิวัตน์ระบบเศรษฐกิจจะมีการประสานเป็นหนึ่งเดียว ทำให้พรมแดนแต่ละประเทศไม่อาจขวางกั้นพลังทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจยังได้เปลี่ยนรากฐานจากระบบอุตสาหกรรมมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบฐานข่าวสาร กระแสวัฒนธรรมประเทศไทย มีอิทธิพลกับวัยรุ่น เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มากขึ้น แนวโน้มของวัยรุ่น ที่ดูจะไหลไปตามกระแสมากขึ้นนั้น ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อตัววัยรุ่นเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาวะทางสังคมและวัฒนธรรมโดยรวม ตัวอย่างที่ปรากฏให้เห็น เช่น “โรคคลั่งดารา” นำไปสู่การหันหลังให้วัฒนธรรมประเพณีอันดีในลุ่มแม่น้ำโขง ปัจจุบันจากที่เป็นสังคมเมือง ซึ่งมีสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เมืองหลวงพระบาง ที่ดินรอบๆ มหาวิทยาลัยถูกจัดสรรให้เป็นที่อยู่อาศัย ร้านค้า และที่สำคัญ เกิดหอพัก นักเรียน นักศึกษา และวัยทำงาน ชาวเมืองหลวงพระบางได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมในสื่อต่างๆ จากประเทศไทย เช่น ทีวี อินเตอร์เน็ต คนรุ่นใหม่ได้รวมกลุ่มกันเช่าหอพัก หรือบ้านเช่า มั่วสุม ทั้งด้าน SEX และยาเสพติด จับคู่เช่าอยู่อาศัยด้วยกัน สิ่งเหล่านี้เองหลายคนกังวลกัน ก็คือ “การถูกกลืนวัฒนธรรม” จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคม ทำ ให้สังคมโลกไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้าน เดียวกัน สมาชิกของหมู่บ้านคนใดทำอะไร ก็สามารถรับรู้ได้ ทั่วกันทั่วโลก เมื่อมาอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน สิ่งใดที่มากระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบถึงประเทศอื่นๆ ไปด้วยอย่างมิอาจ หลีกเลี่ยงได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกสามารถรับรู้ได้อย่างฉับพลันจากผลกระทบด้านสังคมที่เกิดขึ้น

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

พระราชปรีชามุนี, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระปลัดธนากร สนฺตมโน, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูสิทธิธรรมาภรณ์ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

จิรกิตต์ภณ พิริยสุวัฒน์, (2560) “การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอำเภอเชียง
คาน จังหวัดเลย และเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว”,
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, (2546) “จากอาณานิคมาภิวัฒน์สู่โลกาภิวัตน์” สารคดี 19,225
ธเนศวร์ เจริญเมือง, (2538) ไทย-พม่า-ลาว-จีน สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ สี่เหลี่ยมวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.
ปารวี ไพบูลย์ยิ่ง, (2545) เส้นทางไทยเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน เชียงของ-หลวงน้ำทา-เมือง
สิง-เชียงรุ่ง. กรุงเทพฯ: โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค.
มหาคำ จำปาแก้วมณี และคณะ, (2539) ประวัติศาสตร์ลาว,แปลโดยสุวิทย์ ธีรศาศวัต, ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิภา อุตมฉันท์, (2544) ผลกระทบของสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ข้ามพรมแดนระหว่างไทย-
ลาว, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรชัย ศิริไกร, (2543) การพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองลาว, กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออก
ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริญญา วิรุณราช, (2556) อิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ของไทยต่อการบริโภคสินคาของผู้ บริโภค
ในสปป.ลาว:กรณีศึกษานครหลวงเวียงจันทร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิชัย พันธเสน,แปล, (2540) เมื่อบรรษัทครองโลก, กรุงเทพฯ: เสมสิกขาลัย.