ธุง : วัฒนธรรมอีสานกับการพัฒนาจิตใจ

Main Article Content

อำนวยพร โฮมจูมจัง
สมควร นามสีฐาน

บทคัดย่อ

ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่เป็นอารยธรรมโบราณ ประชากรที่อาศัยอยู่ส่วนมากเป็นคนไทยเชื้อสายลาวและเชื้อสายเขมร มีคตินิยมผูกแน่นอยู่กับประเพณีโบราณ มีการรักษา สืบเนื่องต่อกันมา จึงเป็นถิ่นแดนที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมประเพณีที่ผสมผสานความเชื่อในเรื่องของการนับถือผี และคติทางพระพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน บุญผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณี บุญตาม ฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิ ผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียว และบำเพ็ญคุณงามความดีจะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า งานบุญมหาชาติเดือนสี่หรือภาษาอีสานเรียกว่าบุญผะเหวดเชื่อกันว่าเส้นไหมหรือเส้นด้ายที่นำมาทำธุงใยแมงมุมจะชักจูงนำพาขึ้นสวรรค์ ธุงใยแมงมุมมี 3 แบบ คือ ธุงสี่เหลี่ยม หมายถึง อริยสัจสี่ ธุงหกเหลี่ยม หมายถึง กษัตริย์ 6 พระองค์ ในเรื่องพระเวสสันดก ซึ่งเป็นชาดกที่จะเทศน์ในช่วงบุญผะเหวด  ธุงแปดเหลี่ยม หมายถึง มรรคมีองค์แปด หรือธรรมจักรแปดเหลี่ยม ซึ่งการทำธุงใยแมงมุมนี้ได้ให้ความหมายเป็นองค์ธรรมทั้งหมดอีกด้วย

Article Details

บท
Articles
Author Biography

สมควร นามสีฐาน, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

ธวัช ปุณโณทก. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน เล่ม 6 : เทศาภิบาล, ข้าหลวง-
น้ำศักดิ์สิทธิ์ในภาคอีสาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคาร
ไทยพาณิชย์.
ประทับใจ สิกขา. (2555). ธุงอีสาน. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท,
ปรีชา พิณทอง.(2532).สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ. อุบลราชธานี :โรงพิมพ์ศิริธรรม
ภาณุพงศ์ ธงศรี. “ธุงใยแมงมุม” สัญลักษณ์ความเชื่อเรื่องโชคลางของคนอีสาน.สืบค้นจาก
https://theisaanrecord.co/2019/04/02/isaan-believe-culture/วันที่ 12
ตุลาคม 2563
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(2554).บันทึก ศึกษา ธุงอีสาน. สืบค้นจาก
http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubu-art-culture/ วันที่ 12 ตุลาคม
2563
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ
ชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
วิทยา วุฒิไธสง. (2561). ตุง. สืบค้นจาก http://cac.kku.ac.th วันที่ 12 ตุลาคม 2563
วีณา วีสเพ็ญ และคณะ.เอกสารประกอบการเสวนาวิชาการ เรื่อง “ธุงผะเหวดอีสาน :
พุทธศิลป์แห่งพลังศรัทธา” วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2562 สถาบันวิจัยศิลปะและ
วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เสถียรโกเศศ. (2508). ประเพณีเบ็ดเตล็ด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่ง
ประเทศไทย.