เรื่องเล่าเชิงนิเวศกับการสร้างภูมิทัศน์วัฒนธรรมในชุมชนจังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

อาทิตย์ แวงโส
กิตติพัฒน์ ทาวงศ์ษา
มาโนช นันทพรม

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเรื่องเล่าเชิงนิเวศกับการสร้างภูมิทัศน์วัฒนธรรมใน ชุมชนจังหวัดบึงกาฬ ข้อมูลที่ใช้ศึกษาเป็นเรื่องเล่าประเภทมุขปาฐะที่ได้จากคําบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้านใน ชุมชนท้องถิ่นเป็นหลักโดยใช้แนวคิดคติชนกับการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ผล การศึกษาพบว่าจังหวัด     บึงกาฬเป็นอีกหนึ่งในพื้นที่ชุมชนอีสานลุ่มน้ำโขงของไทยที่มีความหลากหลายของ เรื่องราวเกี่ยวกับการอธิบายภูมินามสถานที่ต่างๆทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏมีความสัมพันธ์กับวิถี ของชุมชนเนื้อหาของเรื่องเล่าได้สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่มีต่อการประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับภูมิทัศน์ วัฒนธรรมภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับวัฒนธรรมความเชื่อของผู้คน ทั้งที่เกี่ยวกับความเชื่อดั้งเดิม และความเชื่อทางพุทธศาสนาซึ่งการประกอบสร้างความหมายภายใต้ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึง วิธีคิดและโลกทัศน์ของผู้คนที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏอยู่รายล้อมได้อย่างน่าสนใจ

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

กิตติพัฒน์ ทาวงศ์ษา , Mahamakut Buddhist University

Mahamakut Buddhist University

มาโนช นันทพรม, Mahamakut Buddhist University

Mahamakut Buddhist University

References

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2558). “วิธีคิดท้องถิ่นกับการสร้างความเป็นพระโพธิสัตว์ชาวบ้านในประเพณีบุญหลวงอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (1): 1-32; มกราคม-มิถุนายน.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2560). “ประเพณีเชิงนิเวศ: มุมมองใหม่ของการศึกษาคติชนกับวิธีวิทยาในบริบทสังคมร่วมสมัย”หลากเรื่อง หลายวิธีคิด ว่าด้วยบทพินิจการศึกษาภาษาไทย. หน้า 3-37. มหาสารคาม: คลังนานาวิทยา.
ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2560). ประเพณีประดิษฐ์ในชุมชนอีสานลุ่มน้ำโขง. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
เปรมปรีดา ทองลา. (2555). ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับได้ต่อแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พยุงพร นนทวิศรุต. (2555). ตํานานผีเจ้านาย : พลวัตของเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์กับการสร้างพื้นที่ทางสังคมในชุมชนขายแดนไทย-ลาว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2560). สร้างบ้านแปงเมือง. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2537). ในท้องถิ่นมีนิทานและการละเล่น การศึกษาคติชนในบริบททางสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตํานาน-นิทานพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสภี อุ่นทะยา. (2560). “เรื่องเล่า: ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมในชุมชนเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์” วารสารวิถีสังคมมนุษย์. 5(2): 1-27; กรกฎาคม-ธันวาคม.
อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2537). โลกทัศน์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
ไตรภพ รำเพยพล ผู้ให้สัมภาษณ์, อาทิตย์ แวงโส เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่บ้านเลขที่ 55 หมู่ที่ 3 บ้านอาฮง ตำบลไคสี อําเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560.
เทิดศักดิ์ กงระหัด ผู้ให้สัมภาษณ์, อาทิตย์ แวงโส เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 3 บ้านอาฮง ตำบลไคสี อำเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560.
มีชัย เห็มมะลา ผู้ให้สัมภาษณ์, อาทิตย์ แวงโส เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่บ้านเลขที่ 229 หมู่ที่ 1 บ้านท่าสะอาด ตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560.
รักษ์ สอดซ้าย ผู้ให้สัมภาษณ์, อาทิตย์ แวงโส เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่บ้านเลขที่ 127 หมู่ที่ 5 บ้านท่าไคร้ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2560.