การศึกษาองค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของ ผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

เสาวนีย์ ไชยกุล
มงคลกิตติ์ โวหารเสาวภาคย์
ฟ้าณพราง โวหารเสาวภาคย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาองค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา เพื่อสร้างและใช้องค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา และเพื่อวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การใช้องค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา ผลการวิจัย พบว่า


  1. 1. การสร้างองค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา เป็นลักษณะข้อคำถาม ประกอบด้วยองค์ประกอบเกณฑ์ชี้วัดหลักและเกณฑ์ชี้วัดย่อย ลักษณะข้อคำถามเป็นข้อความเชิงเดี่ยว ครอบคลุมลักษณะของเกณฑ์ชี้วัดในแต่ละด้าน คือ สุขภาวะทางกาย 16 เกณฑ์ชี้วัด สุขภาวะทางสังคม 16 เกณฑ์ชี้วัด สุขภาวะทางจิตใจ 15 เกณฑ์ชี้วัด และสุขภาวะทางปัญญา 14 เกณฑ์ชี้วัด รวม 61 เกณฑ์ชี้วัด ส่วนการได้มาซึ่งองค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัด โดยการศึกษาหลักพุทธธรรม การศึกษาเอกสารหลักฐานสำคัญ และสภาพการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน นำผลการศึกษามากำหนดเป็นกรอบแนวคิดตัวชี้วัดความสุข และการวิเคราะห์การบริหารจัดการ การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา ตามแผนงานวิจัย

  2. 2. ผลสัมฤทธิ์การใช้องค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา

1) ผลสัมฤทธิ์การใช้องค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา จำแนกตามสุขภาวะทางกาย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (m = 4.26)


    2) ผลสัมฤทธิ์การใช้องค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา จำแนกตามสุขภาวะทางสังคม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (m = 4.40)


    3) ผลสัมฤทธิ์การใช้องค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา จำแนกตามสุขภาวะทางจิตใจ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (m = 4.27)


      4) ผลสัมฤทธิ์การใช้องค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในจังหวัดพะเยา จำแนกตามสุขภาวะทางปัญญา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (m = 4.39

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

มงคลกิตติ์ โวหารเสาวภาคย์, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ฟ้าณพราง โวหารเสาวภาคย์, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการสำรวจสุข ภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วัชรินทร์พี.พี.2556.
บรรลุ ศิริพานิช. พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่อายุยืนยาวและเข็งแรง. กรุงเทพมหานคร : สามดีการพิมพ์.2550.
ปราโมทย์ ประสาทกุล (บรรณาธิการ). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุเทพมหานคร : มูลนิธิ สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหพริ้มติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง, 2551.
พระไพศาล วิสาโล และ สมควร ใฝ่งามดี. แลขอบฟ้าเขียว ทางเลือกสำคัญสำหรับอนาคตที่กำลัง ปรากฏเป็นจริง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง, 2549.
พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น และเขมณัฐ อินทรสุวรรณ. ตัวชี้วัดความสุข : กลยุทธ์การสร้าง และการใช้ เพื่อชุมชนเป็นสุข. กรุงเทพมหานคร : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข. 2553.