การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องการบริโภคอาหารกับการบรรลุธรรม ตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระบุญเพ็ง ปมุตฺโต
พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
นคร จันทราช

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องอาหารตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการบรรลุธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์อาหารกับการบรรลุธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามรูปแบบการวิจัยและนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าอาหารตามหลักพระพุทธศาสนาคือสภาพที่นำมาซึ่งผลโดยความเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายมี 4 ประเภท คือ 1) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว 2) ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ 3) มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา และ 4) วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ในวิธีการแสวงหาอาหารมี 2 อย่างคือ 1) อริยปริเยสนา คือ การแสวงอย่างประเสริฐ และ 2) อนริยปริเยสนา คือ การแสวงอย่างไม่ประเสริฐ หลักการและวิธีการบริโภคอาหารมี 3 อย่างคือ 1) ธาตุปัจเวกขณะ ได้แก่ การคิดก่อนบริโภค   2) ตังคณิกปัจเวกขณะ หมายถึง การคิดขณะบริโภคและ 3) อตีตปัจเวกขณะ  หมายถึง การคิดหลังบริโภค การบริโภคอาหารตามหลักพระพุทธศาสนามีเป้าหมาย 3 ระดับคือ 1) ประโยชน์ในระดับปัจจุบัน 2) ประโยชน์ในโลกหน้า และ 3) ประโยชน์สูงสุด อาหารตามหลักพระวินัยจำแนกออกเป็น 2 อย่าง คือ 1) อาหารตามหลักบรมพุทธานุญาติ และ 2) อาหารต้องห้ามตามหลักบรมพุทธานุญาติ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน , Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

นคร จันทราช, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) . (2545) . พุทธประวัติทัศนศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :

กองทุนบุญนิธิหอไตร.

พระธรรมธีรราชมุนี (โชดก ญฺาณสิทธิ), . (2545) . วิปัสสนากรรมฐาน . กรุงเทพฯ:

บริษัท ประยูรสาสน์พริ้นติ้ง จำกัด.

______.(2542) . การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินเป็นอยู่เป็น. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร

จำกัด.

______ .(2540). การสร้างสรรค์ปัญญาเพื่อเพื่ออนาคตของมนุษยชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 7.

กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546) . พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม,

พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์จำกัด.

______. (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549) . พุทธธรรมฉบับปรับขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 46.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สหธรรมิก จำกัด.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539) .พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เล่มที่ 4,11,12,18,20,13,25,27,31.

วศิน อินทสระ. (2542) . สาระสำคัญแห่งวิสุทธิมรรค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.