รูปแบบทางพุทธศิลป์ของพระธาตุแดนใต้

Main Article Content

ทวีโชค เหรียญไกร

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของงานพุทธศิลป์ 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบทางพุทธศิลป์ของพระธาตุแดนใต้และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อหลักธรรมและคุณค่าทางพุทธศิลป์ของพระธาตุแดนใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารและจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 ท่าน นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบของงานพุทธศิลป์ รูปแบบงานพุทธศิลป์ในประเทศไทย มีความแตกต่างไปตามความเชื่อและหลักปฏิบัติ แบ่งเป็น 4 ยุค คือ (1) ลัทธิหินยานอย่างเถรวาท (ก่อน พ.ศ. 500) ได้เข้ามาประดิษฐานที่เมืองนครปฐม งานพุทธศิลป์ในยุคนี้ทำตามแบบอย่างจากอินเดีย (2) ลัทธิมหายาน (พ.ศ.1300) มีความเชื่อและนับถือพระโพธิสัตว์ งานพุทธศิลป์มีรูปแบบอย่างพระบรมธาตุเมืองไชยา (3) ลัทธิมหายานอย่างพุกาม (พ.ศ.1600) ได้เข้ามาทางภาคเหนือของไทย รูปแบบพุทธศิลป์เป็นแบบภาคเหนือ (4) ลัทธิลังกาวงศ์ (พ.ศ.1800) ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยที่เมืองนครศรีธรรมราช รูปแบบงานพุทธศิลป์จึงเป็นแบบพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช 2) รูปแบบทางพุทธศิลป์ของพระธาตุแดนใต้ รูปแบบทางพุทธศิลป์ของพระธาตุแดนใต้แบ่งเป็น 2 ยุค คือ 1) รูปแบบทางพุทธศิลป์ที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิมหายาน ดังปรากฏที่พระบรมธาตุไชยาและ 2) รูปแบบทางพุทธศิลป์ที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิลังกาวงศ์ ดังปรากฏที่พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุเขียนบางแก้ว 3) ความเชื่อหลักธรรมและคุณค่าทางพุทธศิลป์ของพระธาตุแดนใต้ชาวภาคใต้มีความความเชื่อว่า พระธาตุแดนใต้ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นศาสนสถานที่มีความศักดิ์สิทธิ์ มีหลักคำสอนว่าด้วยศีล สมาธิและปัญญา งานพุทธศิลป์ของพระธาตุแดนใต้ก่อให้เกิดคุณค่าแก่สังคมในด้านหลักคำสอน ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และด้านสังคม

Article Details

บท
Research Articles

References

ไตรภพ สุทธเขต. (2552). การสืบทอดพุทธศิลปลานนา : กรณีศึกษาวัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) เชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บัว สนสร้อย. (ม.ป.ป.). นำทัศนาจร วัดพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี. พระนคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2547). พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชกับการวิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระกฤษณะพงษ์ ฐิตมานโส. (2558). การศึกษาพุทธธรรมผ่านงานพุทธศิลป์อุโบสถกลางน้ำศิลปะแบบศรีวิชัยวัดทุ่งเซียด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล. (2559). การวิเคราะห์ใหม่: สถาปัตยกรรมพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิริวัฒน์ คำวันสา. (2534). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อดุลย์ หลานวงค์. (2562). ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพุทธศิลป์ที่มีต่อชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.