การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ในภาษาบาลี และภาษาอังกฤษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ของภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ 2) เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ของภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ และ 3) เพื่อวิเคราะห์กลวิธีเชื่อมโยงโครงสรางทางวากยสัมพันธ์ของภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ทฤษฎีไวยากรณ์การก 1970 และทฤษฎีไวยากรณ์โครงสร้างในการวิเคราะห์ประโยคตัวอย่างในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า (1) โครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ในประโยคภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย คำ หน่วยคำ วลี และอนุประโยค ในภาษาบาลี มีวิธีการสร้างคำ 7 วิธี ได้แก่ 1) การสร้างคำโดยวิธีแปรรูปหรือผันคำในวิภัตตินาม 2) การสร้างคำโดยวิธีแห่งนามกิตก์ 3) การสร้างคำโดยวิธีสมาส 4) การสร้างคำโดยวิธีตัทธิต 5) การสร้างคำโดยวิธีอัพพยศัพท์ 6) การสร้างคำโดยวิธีแห่งอาขยาต 7) การสร้างคำโดยวิธีแห่งกิริยากิตก์ (2) โครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ของภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ มีลักษณะทั้งที่คล้ายกันและต่างกัน คือ มีการสร้างคำขึ้นใช้ในภาษาของตนเองโดยใช้การปรุงคำหรือผันคำ (Inflectional words) เหมือนกัน ต่างกันที่ในภาษาบาลีมีวิธีการสร้างคำที่มีความซับซ้อนมากกว่า มีวลี (Phrase) เหมือนกัน มีวิธีสร้างวลีคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน และมีจำนวนวลีไม่เท่ากัน มีอนุประโยค (Clause) คล้ายๆกัน แต่ลักษณะโครงสร้างอนุประโยคแตกต่างกัน โดยอนุประโยคในภาษาบาลีใช้ประโยค ย-ต (สังกรประโยค) เป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างประโยค แต่ในภาษาอังกฤษใช้ Relative Pronouns และ Coordinators เป็นส่วนประกอบในโครงสร้างประโยค และมีวาจก (Voice) เหมือนกัน ต่างกันแค่จำนวนวาจก ซึ่งในภาษาบาลีมี 5 วาจก ส่วนในภาษาอังกฤษมี 2 วาจก โดยซึ่งทั้งสองวาจกมีโครงสร้างคล้ายกัน (3) กลวิธีเชื่อมโยงโครงสรางทางวากยสัมพันธ์ของภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ มีทั้งความคล้ายกันและความแตกต่างกัน กล่าวคือมีวิธีการวางคำ, และนามวลี/นามพยางค์ คล้ายกัน ดังนี้ วางคำคุณศัพท์ (Adjective) ไว้หน้าคำนาม (Noun) เพื่อทำหน้าที่ขยายคำนาม, วางคำนาม (Noun) หรือนามวลี (Noun Phrase) ซึ่งใช้เป็นประธาน (Subject) ไว้ต้นประโยค, คำนามหรือนามวลีที่ใช้เป็นกรรม (Object) ในภาษาบาลีวางไว้หน้าบทกิริยา
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กองบาลีสนามหลวง. (2538). เรื่องสอบบาลีของสนามหลวงแผนกบาลี พ.ศ.2538. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2537). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เปลื้อง ณ นคร. (2542). ภาษาวรรณนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (P.A. PAYUTTO). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
พระมหาอุดร สุทฺธิญาโณ. (2550). ภาษากับการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์.
พระราชวรมุนี (พล อาภากโร). (2553). มหาพาเรียนอังกฤษ, พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.
สมิทธิพล เนตรนิมิตร,ผศ.ดร. (2556). บาลีศึกษาในอรรถกถาธรรมบท. กรุงเทพฯ: บริษัท เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด.
อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. (2548). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์,ศ.ดร. (2537). ภาษาศาสตร์เหมาะสมัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: พิมพการ การพิมพ์.
Robert Lado. (1964). Language Teaching: A Scientific Approach. New York: McGraw-Hill.