พระธาตุแดนใต้: ประวัติศาสตร์ พุทธศิลปกรรม และการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Main Article Content

พระมหาสมปอง ฐานิสฺสโร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการศึกษาประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และความสำคัญของพระธาตุแดนใต้ 2) เพื่อศึกษารูปแบบทางพุทธศิลปกรรมของพระธาตุแดนใต้ 3) เพื่อศึกษาเส้นทางและกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของพระธาตุแดนใต้กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 4) เพื่อศึกษาการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพระธาตุแดนใต้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) พระธาตุแดนใต้ : ประวัติศาสตร์ พุทธศิลปกรรมและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จากการศึกษาสรุปผล คือ (1) พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานโดยมีตำนานและคัมภีร์ต่างๆ อธิบายถึงประวัติการก่อสร้างและผู้ก่อสร้างที่ใกล้เคียงกัน คือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (2) พระบรมธาตุไชยา เป็นพุทธเจดีย์แบบสมัยศรีวิชัย มีความเก่าแก่ สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในราว พ.ศ.1200 มีความสำคัญมาก คือ เป็นที่บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและส่วนต่างๆ ของพระบรมธาตุ สร้างด้วยฝีมือช่างสมัยศรีวิชัย เป็นศิลปกรรมชั้นยอดเยี่ยมมีอายุนับพันปี นักวิชาการสันนิษฐานว่า มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรือง (3) พระมหาธาตุวัดเขียนบางแก้ว เป็นพระมหาธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่ของจังหวัดพัทลุง ในเชิงประวัติศาสตร์ของการสร้างพระมหาธาตุวัดเขียนบางแก้ว สันนิษฐานว่า พระยากรุงทอง แห่งกรุงสทิงพาราณสี เป็นผู้สร้าง 2) รูปแบบทางพุทธศิลปกรรมของพระธาตุแดนใต้ พระธาตุแดนใต้ทั้ง 3 องค์ได้แก่ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช รูปแบบทางพุทธศิลปกรรมแบบสมัยศรีวิชัย พระบรมธาตุไชยา เป็นพุทธเจดีย์แบบสมัยศรีวิชัยและพระมหาธาตุวัดเขียนบางแก้ว เป็นเจดีย์รูปแบบศิลปศรีวิชัย 3) เส้นทางและกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของพระธาตุแดนใต้กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พระธาตุแดนใต้ทั้ง 3 องค์ ได้แก่ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช พระบรมธาตุไชยา และพระมหาธาตุวัดเขียนบางแก้ว เป็นศูนย์รวมแห่งพลังศรัทธาของชาวภาคใต้ ชาวภาคใต้มีการแสดงออกซึ่งพลังศรัทธาที่มีต่อพระธาตุแดนใต้ผ่านทางประเพณีวัฒนธรรมหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระธาตุแดนใต้ เช่น การแสดงความเคารพสักการบูชาพระธาตุแดนใต้ การอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมแก่ชนรุ่นหลัง เช่น ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ สารทเดือนสิบ  สงกรานต์ ดังนั้น พระธาตุแดนใต้ จึงเป็นศูนย์กลางของความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศรัทธาของชาวภาคใต้อย่างแท้จริง 4) การจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพระธาตุแดนใต้ พระธาตุแดนใต้ทั้ง 3 องค์ ได้แก่ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช พระบรมธาตุไชยาและพระมหาธาตุวัดเขียนบางแก้ว ได้จัดการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมโดยการส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้าเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของพระธาตุทั้ง 3 องค์

Article Details

บท
Research Articles

References

ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2547), พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชกับการวิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2547), 5 มหาเจดีย์สยาม. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส,

วาลิกา แสนคำ. (2545), การพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานผลงานวิจัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสรี วังส์ไพจิตร. (2559), วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของโลกและของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.

https://www.mculture.go.th/young/ewt_news.php?nid=541&filename=index ออนไลน์ เช้าถึงเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563.