การส่งเสริมสันติภาพของประชาคมอาเซียนตามหลักศาสนา

Main Article Content

พระครูวุฒิสาครธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการสร้างสันติภาพในประชาคมอาเซียน 2) เพื่อวิเคราะห์หลักคำสอนทางศาสนาที่ส่งเสริมสันติภาพของประชาคมอาเซียน และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมสันติภาพของประชาคมอาเซียนตามหลักศาสนา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้แก่ พระสงฆ์ บาทหลวง อิหม่าม จำนวน 20 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้การการวิจัยแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย ได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างสันติภาพในประชาคมอาเซียน มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็น “ประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน และความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการก่อให้เกิดความเป็นภูมิภาคของอาเซียน ทั้งในแง่ของปัจจัยเชิงปทัสสถานอันนำมาซึ่งความผูกพันกันระหว่างประเทศในภูมิภาคที่เชื่อมโยงกันด้วยประวัติศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ อัตลักษณ์และการมีความเชื่อที่ใกล้เคียงกัน 2) หลักคำสอนทางศาสนาที่ส่งเสริมสันติภาพของประชาคมอาเซียน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้นในสังคมของตน แต่บางครั้งการที่มีคนอยู่ร่วมกันหลายคนหลายกลุ่ม มีความหลากหลายแตกต่างกัน ก็ย่อมมีการขัดแย้งกันบ้าง คงไม่มีใครสามารถสร้างสังคมที่ปราศจากความขัดแย้งได้โดยสิ้นเชิง เพราะบ้างครั้งความขัดแย้งก็เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดความหลากหลายในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ที่อยู่ในสังคมนั้นๆ ได้ ซึ่งในหลักคำสอนของแต่ละศาสนานั้นมีวิธีการต่างๆ ในการแก้ปัญหาหรือดำเนินการใดๆ ที่เหมาะสมกับสังคมต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อที่จะทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ 3) แนวทางการสร้างรูปแบบการส่งเสริมสันติภาพของประชาคมอาเซียนตามหลักศาสนา ประกอบด้วย การดำเนินงานเครือข่าย โดยมีผู้นำศาสนา เป็นองค์กรหลักในการดำเนินการก่อตั้งและประสานงาน เทคนิควิธีการในการจัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ การดำเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ การดำเนินกิจกรรมร่วมกัน การสร้างพันธะสัญญา  และการระดมทรัพยากรมาใช้ได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามเครือข่ายการเรียนรู้จะประสบความสำเร็จได้ต้องประกอบไปด้วย องค์ประกอบ 10 ประการ ตั้งแต่การมีแกนนำสมาชิกที่เข้มแข็ง จนถึงมีระบบการติดตามและประเมินงานของเครือข่าย

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงการต่างประเทศ. “การรักษาสันติภาพ”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.mfa.go.th/main/th/issues/9904.html, วันที่ 1 เมษายน 2562.

รุ่งธรรม ศุจิธรรมรักษ์.(2533), สันติศึกษากับสันติภาพ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

Phamaha Hansa Dhammahaso. (2011), Buddhist Nonviolent : Integrating the Principles and Insturments of Confict Management. Bangkok : 21 Century,.

Phrakhruprachoteraranakorn. (Noi Sirisuk). (2015), The Buddhist Peace : The Idea and role in Peace building of Thai Buddhist monks. Ph.D. in Social Sciences Journal. 5(2)..

Sompong. S. (2016). A Critical Analysis of Communication Pattern for Peace in the Online Media by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Komchadluek.Net. Journal of MCU Peace Studies. 4(1).