การสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ตามแนวพุทธศาสนาของชุมชน อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

สังเวียน สาผาง
พระครูวาปีจันทคุณ
พระครูปลัดสมหมาย อตฺถสิทฺโธ
ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ
พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความขัดแย้งของชุมชนบ้านท่าเยี่ยมและชุมชนบ้านนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเสริมสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ตามแนวพุทธศาสนาในชุมชนบ้านท่าเยี่ยมและชุมชนบ้านนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ในชุมชนบ้านท่าเยี่ยมและชุมชนบ้านนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า         1) สภาพปัญหาความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันโดยทั่วไปของชุมชนบ้านท่าเยี่ยมและบ้านนิเวศน์ โดยมากเกี่ยวกับผลประโยชน์และการอยู่ร่วมกันในชุมชนมีการกระทบกระทั้งกันบ้างเกี่ยวกับการทำมาหากิน ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์จากที่ดินทำกิน ที่ดินสาธารณประโยชน์ ปัญหาเรื่องความเข้าใจเรื่องขอบเขตที่ดินไม่ตรงกัน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเมืองการปกครอง เนื่องจากความคิดเห็นไม่ตรงกัน ความขัดแย้งเนื่องจากชาวบ้านบางคนไม่เข้าใจระบบการจัดการของทางวัดภายในชุมชนเกี่ยวกับการจัดการของงานศพภายในวัด และความขัดแย้งเรื่องที่ดินทำให้เกิดความทะเลาะวิวาทกันเป็นเบื้องต้น 2) การสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ด้วยการให้ (การให้ทาน) การแบ่งปันการให้หรือการแบ่งปันสิ่งของเป็นพื้นฐานที่สามารถดึงดูดจิตใจของผู้รับได้เป็นอย่างดี ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้รับ ซึ่งเป็นการสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ในชุมชนได้ การสงเคราะห์ด้วยการแบ่งปันหรือการให้ ประชาชนมีความสุขและสร้างความสามัคคีต่อกันเป็นอย่างดี การสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ด้วยการพูดจาอ่อนหวาน การพูดจาด้วยความอ่อนหวานน่าฟัง การพูดด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน เป็นการผูกมิตรไมตรีและสร้างความปรองดองและสมานฉันท์เป็นอย่างดียิ่ง คนเรารู้จักผูกใจคนด้วยคำพูดอ่อนหวาน เป็นศิลปะทางการใช้ถ้อยคำให้เป็นประโยชน์ การสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ด้วย

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูวาปีจันทคุณ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูปลัดสมหมาย อตฺถสิทฺโธ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535).พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

______. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระศรีปริยัติโมลี, (2543). “ศีลธรรมของเยาวชน เริ่มที่บ้าน ,” เสขิยธรรม, กรุงเทพฯ.

พุทธทาสภิกขุ, (2551). พุทธธรรมประยุกต์, กรุงเทพฯ: ธรรมทานมูลนิธิ.

อรศิริ เกตุศรีพงษ์, (2550) “สังคหวัตถุ 4วัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการจัดการความรู้”, วารสาร Productivity World เพื่อการเพิ่มผลผลิต, ปีที่ 12 ฉบับที่ 68, 43-46.