การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของชุมชนตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

Main Article Content

พระสุเว่ย คุณรตโน (น้อย)
พระครูโกศลอรรถกิจ
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล
สิทธิโชค ปาณะศรี
สวัสดิ์ อโณทัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง“การประยุกต์ใช้หลักอภาวนา 4 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ตําบลปกาสัย อําเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่”มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ 2) เพื่อศึกษาหลักภาวนา 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3) การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ผู้วิจัยได้สำรวจและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล โดยนำข้อมูลจากที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ ประมวลความ สรุปผล และนำเสนอในรูปแบบการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนตำบลปกาสัย พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิต เกิดขึ้นได้จากคิดดี พูดดีและทำดี จึงทำให้คนในชุมชนรู้ว่าสิ่งไหนควรหรือไม่ควรทำ ไม่เห็นแก่ตัวไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ทำให้ชุมชนเดือดร้อน ชุมชนเกิดความสงบสุขได้ ไม่ส่งผลเสียต่อคนในชุมชน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา 4  คือ กายภาวนา สีลภาวนา จิตตภาวนาและปัญญาภาวนา ในการแก้ปัญหาของชุมชนให้เกิดความ  สงบสุขมีความรักความสามัคคีต่อไป 2) หลักภาวนา 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า เป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งกระบวนการของหลักภาวนา 4  ได้แก่ 1. กายภาวนา คือ การเจริญกาย 2. ศีลภาวนา คือ การเจริญศีล 3. จิตตภาวนา คือ การเจริญจิต 4. ปัญญาภาวนา คือ การฝึกอบรมปัญญาให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง 3) การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ พบว่า การฝึกอบรมจิตใจให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป มั่นคงด้วยคุณธรรม เช่น มีเมตตา มีศีล มีจิตใจที่ดีงาม ไม่คิดเบียดเบียนซึ่งกันและกัน คิดหาเหตุผล รู้วิธีแก้ไขปัญหาและรู้จักวิธีการดำเนินชีวิต ด้วยปัญญาที่ฉลาด ไม่บิดเบือนหรือเอนเอียงด้วยอคติ เมื่อคนในชุมชนนำหลักภาวนา 4 มาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง มีการพัฒนาทางด้านกาย ศีล จิตและปัญญา ก็สามารถทำให้ชุมชนมีความสงบสุขเป็นชุมชนที่น่าอยู่ต่อไป

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูโกศลอรรถกิจ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

          Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

                    Mahachulalongkornrajavidyalaya University

สิทธิโชค ปาณะศรี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

          Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2527). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไรพุทธศาสนากับการพัฒนา

มนุษย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

สำราญ จูช่วย, (2554), “การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนบางขนุนภายใต้การเปลี่ยนแปลง

ของวัฒนธรรมท้องถิ่น”, รายงานการวิจัย : วิทยาลัยราชพฤกษ์.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, (2539), ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม, กรุงเทพฯ: พิมพ์

ลักษณ์การพิมพ์.