ศึกษาขันธ์ 5 ในมุมมองของพุทธทาส ภิกขุ

Main Article Content

พระครูวินัยธรสุวิจักขณ์ มหาปญฺโญ (อริยวงศ์ชัย)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาขันธ์ 5 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาขันธ์ 5 ในมุมมองของพุทธทาสภิกขุ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในมุมมองของพุทธทาสภิกขุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research)  อาศัยข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และหนังสือของพุทธทาสภิกขุ นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ขันธ์ 5 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ขันธ์ แปลว่า กอง หมวด หมู่ กลุ่ม คำว่า ขันธ์ 5 หมายถึง ส่วนประกอบของชีวิต 5 อย่าง ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า รูปและนาม หรือกายกับจิต เป็นองค์ประกอบของชีวิตซึ่งเกาะกลุ่มอาศัยกันเกิดขึ้นตามกระบวนการธรรมชาติ เชื่อมโยงกันอย่างมีระบบ ไม่สามารถแยกออกจากกันได ตลอดถึงขันธ์ 5 ก็ยังเกี่ยวข้องกับหลักธรรม คือ ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ 2) ขันธ์ 5 ในมุมมองของพุทธทาสภิกขุ ขันธ์ 5 หมายถึง รูปกับนาม แจกได้เป็น 5 กอง คือ รูปขันธ์ รูปกาย เวทนาขันธ์ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข สัญญาขันธ์ ความที่ยังจำหมายอะไรได้ หรือความที่ยังมีสติสัมปฤดี สังขารขันธ์ ความนึกคิดที่เกิดขึ้นในใจ วิญญาณขันธ์ สิ่งที่ทำหน้าที่รู้สึกต่อสิ่งภายนอก ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งภายในใจ ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของแต่ละขันธ์ และ 3) วิเคราะห์แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ในมุมมองของพุทธทาสภิกขุ ขันธ์ 5 มีความเกี่ยวข้องกับหลักธรรม คือ ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ ว่า ขันธ์ 5 ในฐานะเป็นไตรลักษณ์มีลักษณะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ 5 ในฐานะเป็นปฏิจจสมุปบาทมีลักษณะเป็นสภาวธรรมที่อิงอาศัยเหตุปัจจัยกันเกิดขึ้น และขันธ์ 5 ในฐานะเป็นอริยสัจเป็นหลักการดำเนินชีวิต โดยประกอบอยู่ด้วยสติปัญญากำหนดรู้ทุกข์กับดับทุกข์ ควบคู่กับกระแสโลกที่กำลังพัฒนาที่จะไม่เป็นทุกข์โดยไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของมนุษย์ทุกคน คือ พระนิพพาน

Article Details

บท
Research Articles

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาจิรศักดิ์ ธมฺมเมธี (สังเมฆ), (2544). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องปัญหาภาษาใน

พระพุทธศาสนา.ศึกษาฉพาะกรณีแนวคิดเรื่องภาษาคนภาษาธรรมของพุทธทาส

ภิกขุ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2514). ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธีธรรมวิภาคนวกภูมิ, พิมพ์ครั้งที่ 3,

สุราษฎร์ธานี : โรงพิมพ์ คณะธรรมทาน.

______. (2548).ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2, สุราษฎร์ธานี : ธรรมทานมูลนิธิ.

______. (2554). อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

______. (2529). อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรณ์. กรุงเทพฯ: การพิมพ์พระนคร.

______. (2538). ชุมนุมเรื่องสั้น, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.