การศึกษาหลักธรรมในการสร้างความสันติสุขท่ามกลาง พหุวัฒนธรรมในอีสานใต้

Main Article Content

พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย
ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์
พระสมชาย ปโยโค
พระครูสุเมธจันทสิริ เพชรมาก
พระมหาใจสิงห์ สิริธมฺโม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักธรรมในการสร้างสังคมสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม 2) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการสร้างสังคมสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมและ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการสร้างชุมชนสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประชากรคือ 1) ชุมชนบ้านยาง ตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ชุมชนบ้านอ้ออุดมสิน ตำบลไพล อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา 3) ชุมชนบ้านเทนมีย์ ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และ 4) ชุมชนทนง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 50 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวคิดและหลักธรรมในการสร้างสังคมสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม ชุมชนกลุ่มเป้าหมายมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันประชาชนส่วนใหญ่ประชากรกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาและนับถือผีประกอบกัน หรือบางแห่งบางพื้นที่นับถือพุทธ พราหมณ์ และผี ผสมผสานกัน โดยให้ความสำคัญทั้ง 3 อย่าง ไม่ด้อยไปกว่ากัน พุทธ พราหมณ์ และผี ถือว่ามีอิทธิพลกับประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นอย่างมาก วิถีปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นเหตุทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง มั่นคง และดำรงมั่นอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนในชุมชนเหล่านี้ 2) การพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการสร้างสังคมสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมองค์ประกอบในการสร้างสังคมสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมองค์ประกอบและตัวชี้วัดการสร้างสังคมสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมพบว่ามี 6 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 ผู้นำ มี 35 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 มีกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชุมชนองค์ มี 7 ตัวชี้วัด ประกอบที่ 3 มีสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน มี 6 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชน มี 5 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 5 มีจิตสำนึกรักชุมชน มี 6 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 6 มีองค์กรในชุมชน มี 6 ตัวชี้วัด 3) รูปแบบการสร้างชุมชนสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 เป็นคนดี ขั้นตอนที่ 2 มีปัญญา ขั้นตอนที่ 3 มีรายได้สมดุล ขั้นตอนที่ 4 มีสุขภาพแข็งแรง ขั้นตอนที่ 5 สิ่งแวดล้อมดี ขั้นตอนที่ 6 สังคมอบอุ่น ขั้นตอนที่ 7 หลุดพ้นอาชญากรรม ขั้นตอนที่ 8 มีกองทุนชุมชนพึ่งพาตนเอง ขั้นตอนที่ 9 คณะกรรมการหมู่บ้านเข้มแข็ง

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระสมชาย ปโยโค, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูสุเมธจันทสิริ เพชรมาก , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระมหาใจสิงห์ สิริธมฺโม, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Mahamakut Buddhist University

References

พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ (วันยาว). (2547). ความรู้จักพอประมาณในพระพุทธศาสนาเถรวาท กับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดำริ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมชาย สิริจนฺโท (หานนท์). (2547)“พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตาม แนวทางของพระเทพวรคุณ (สมาน สุเมโธ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มงคล สายสูง. (2546). การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ตำบลน้ำเกี๋ยน กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุตรดิตถ์.

วิลาศ โพธิสาร. (2552). การปรับตัวทางสังคมของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมเขตอีสานใต้. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิลาส โพธิสาร, (2548), การปรับตัวของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมเขตอีสานใต้, รายงาน

การวิจัย, ทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวง

วัฒนธรรม.