ศึกษาการประยุกต์ใช้กระบวนการพัฒนาจิตที่ปรากฏในคัมภีร์ธรรมบทของประชาชนในชุมชนน้ำยืน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระครูวีรกิจชลธาร (กนฺตวีโร/รัตนวัน)
พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ

บทคัดย่อ

 


          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาจิตที่ปรากฏในคัมภีร์ธรรมบทหมวดจิตวรรค 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์กระบวนการพัฒนาจิตในคัมภีร์ธรรมบทของประชาชนในชุมชนน้ำยืน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) จิต หมายถึง สภาพที่รับรู้อารมณ์ ทั้งที่เป็นอารมณ์อันน่าพอใจและไม่น่าพอใจ สามารถรับรู้ได้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน หน้าที่ของจิตจึงเป็นสภาวะธรรมที่เป็นนามธรรม มีสภาพที่นึกคิด รับจำ รู้ สิ่งต่างๆ ที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เพราะจิตนั้นเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ 2) กระบวนการพัฒนาจิตที่ปรากฏในคัมภีร์ธรรมบทหมวดจิตวรรค มีทั้งหมด 9 เรื่อง ได้แก่ (2.1) เรื่องถูกวิตกทั้ง 3 เข้าครอบงำจิตใจ วิตก 3 อย่าง (2.2) เรื่องความไม่ประมาทในชีวิต ด้วยการสาธยายอาการ 32 ประการ เป็นวิธีการฝึกจิตอันข่มได้ยาก (2.3) เรื่องการรักษาจิตอย่างเดียวไม่ให้เลื่อนลอยฟุ้งซ่านก็สามารถพ้นทุกข์ได้ (2.4) เรื่องการปล่อยความคิดเลื่อนลอย (2.5) เรื่องความคิดและความจริงต่างกันคือคิดอยากบวชเป็นพระจะได้ไม่เป็นผู้อดอยากเรื่องอาหาร (2.6) เรื่องการรู้จักใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นสัจธรรมความเป็นจริงตามธรรมชาติ (2.7) เรื่องการทำให้จิตใจเป็นสมาธิรวมกันเป็นหนึ่ง มีศรัทธาเชื่อมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง (2.8) เรื่อง การตั้งจิตไว้ผิดใน อกุศลกรรมบถ 10 ประการและ (2.9) เรื่องการตั้งจิตไว้ไม่ดีก็จะทำให้จิตนั้นฟุ้งไป 3) การประยุกต์กระบวนการพัฒนาจิตในคัมภีร์ธรรมบท คือ (3.1) การประมาณตนไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน อยู่อย่างพอเพียง การอดทนอดกลั้น มีความขยันหมั่นเพียร ทำจิตใจให้สงบ (3.2) การพัฒนาด้านจิตใจ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกล้าทำและรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ การพูดดี ทำดี มีสติในการใช้ชีวิตประจำวัน ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง (3.3) มีความศรัทธาในหน้าที่ตนเอง รักในอาชีพตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริต มีการพัฒนาตนเองต่อบทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบ ขยันอดทน มีความพยายาม เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม

Article Details

บท
Research Articles

References

อริยา คูหา, (2555). กาย จิต: ความสมบูรณ์แห่งชีวิต, คณะศึกษาศาสตร์ :

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พระมหาสังเวย ธมฺมเนตฺติโก, (2535). แต่งตามธรรมบท, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประดิพัทธ์,

สุภาพรรณ ณ บางช้าง, (2526). ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา, กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, (2527). ประวัติการศึกษาสงฆ์, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

การศาสนา.

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (พรรณา), (2550). “จิตตมาตรของนิกายโยคาจาร: การศึกษาเชิง

วิเคราะห์บนฐานแนวคิดเรื่องจิตในพระพุทธศาสนายุคต้น”, บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ กรุงเทพฯ:

บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), (2541). จาริกบุญ จารึกธรรม, กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์สวย

จำกัด.

พระอธิการไพศาล กิตฺติภทฺโท (บำรุงแคว้น) (2545) การศึกษาวิเคราะห์เรื่องการประยุกต์ใช้พุทธปรัชญาในการบำรุงรักษาจิตผู้ป่วย” บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย