การประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อป้องกันการถูกหลอก ในสังคมออนไลน์

Main Article Content

เจ้าอธิการอนุวัตร อินฺทปญฺโญ (ทิพพิชัย)
พระครูโกศลวิหารคุณ
ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาในการป้องกันการถูกหลอกในสังคมออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการถูกหลอกในสังคมออนไลน์ในสังคมปัจจุบัน 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อป้องกันการถูกหลอกในสังคมออนไลน์ การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าสติ หมายถึง ความระลึกได้ เป็นการระลึกได้ก่อนจะคิด พูด หรือทำสิ่งใด สามารถ ควบคุมพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง สติจะทำให้มีปัญญาพิจารณา ก่อนจะทำสิ่งใด สติก็คือความไม่ประมาท ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา และการเจริญสติยังเป็นบุพนิมิตที่ทำให้อริยมรรคเกิดขึ้นได้ สัมปชัญญะ คือความรู้ตัว คือรู้ว่าสิ่งที่คิด พูด ทำ นั้นเป็นกุศลหรืออกุศล โดยใช้ปัญญา ด้านการหลอกลวงทางสังคมออนไลน์ พบว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อทรัพย์สินของผู้เสียหายโดยมีรูปแบบการหลอกลวง เช่น การประมูลสินค้าทางอินเทอร์เน็ตโดยหลอกลวง การใช้บัตรเครดิตโดย ไม่ได้รับอนุญาต การเข้าควบคุมการใช้โมเดมบุคคลอื่น การหลอกลวงให้ใช้บริการเกี่ยวกับเว็บไซต์ การหลอกลวงโดยใช้การตลาดหรือการขายแบบตรง ส่วนวิธีการหลอกลวง เช่น หลอกลวงด้วยการขอ แต่งงาน การแอบอ้างจากชาวแอฟริกันตะวันตกขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ชักชวนดำเนิน ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า คอลเซ็นเตอร์ ถูกโกงซื้อของผ่านออนไลน์ โอนเงินไม่ได้รับสินค้า แชร์ลูกโซ่ ออนไลน์ คอลเซ็นเตอร์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ศาลหลอกขอข้อมูลส่วนตัว ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้ง ทานด้านชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นๆด้านวิธีการใช้สติเพื่อป้องกันการถูกหลอกในสังคมออนไลน์ พบว่า ควรมีวิธีการโดยยึดหลักการดังนี้ คือ หลักกาลามสูตร หลักโยนิโสมนสิการ หลักความสมเหตุสมผล หลักการ แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักอุเบกขา ส่วนแนวทางการประยุกต์ใช้สติเพื่อป้องกันความเสียหายจากการถูกหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตควรมีรูปแบบดังนี้คือ ควรส่งเสริมการเจริญสติตามหลักพระพุทธศาสนา การประยุกต์โดยการปลูกฝังสติให้แก่เด็กและเยาวชน การประยุกต์ใช้สติโดยการ สวดมนต์และการประยุกต์ใช้สติเพื่อการตัดสินใจ


 

Article Details

บท
Research Articles

References

พุทธิตา รักพงษ์, (2536),“การศึกษาเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ :ศึกษาเฉพาะกรณีโภควิภาค 4”,

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, (2562), เยาวชนคนกลุ่มเสี่ยง, สำรวจเด็กและเยาวชน, [ออนไลน์] 4

(3) : 6 ย่อหน้า แหล่งที่มา http://www.dopa.go.th/religion/tammar.htm [15

สิงหาคม 2563].

Rabbit finance Magazine, (2560).“Romance Scam” หลอกรักออนไลน์ ภัยร้ายของ

สาวโสด!, สืบค้นจาก https://finance.rabbit.co.th/blog/romance-scam-and-

single-ladies

หนังสือพิมพ์แนวหน้า, (2562). ปปง.เผยตั้งศปก.ปปง. 1ปี พบเหยื่อคดีโรแมนซ์สแกน 332

ราย เสียหาย 193 ล้าน, สืบค้นจาก https://www.naewna.com/local/417058