การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แนว พุทธของวัดพระธาตุสวนตาล อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระอนุวัฒน์ อภิชาโน (สุรวิทย์),
พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการและแนวคิดการส่งเสริมการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์แนวพุทธ 2) เพื่อศึกษาสภาพการท่องเที่ยงเชิงพุทธของวัดพระธาตุสวนตาล อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แนวพุทธของวัดพระธาตุสวนตาล อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาทรัพยากรและสภาพแวดล้อม เพื่อให้คงอยู่และใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน โดยครอบคลุมทรัพยากรทุกประเภททั้งด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม 2) สภาพการท่องเที่ยวของวัดพระธาตุสวนตาล ประกอบด้วย เรือโบราณ หรือเรือเจ้าแม่หงส์ทอง เป็นเรือขุดขนาดใหญ่โดยได้ใช้ไม้ไม้ตะเคียนหินขนาดใหญ่เพียงท่อนเดียว มีความยาว 24 เมตร กว้าง 2.70 เมตร เรือลำนี้มีอายุประมาณ 300 ปี พระธรรมเทโวเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดขนาดหน้าตักกว้าง 42 เซนติเมตร สูง 76 เซนติเมตร ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยศิลปะแบบลาว มีอายุ 224 ปี และ 3) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แนวพุทธของวัดพระธาตุสวนตาล (1) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านกายภาพ (กายภาวนา) (2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้านการพัฒนาระบบการจัดการและวินัยของนักท่องเที่ยว (ศีลภาวนา) (3) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้านการปลูกฝังจิตสำนึก ด้านสิ่งแวดล้อม (จิตภาวนา) (4) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้านการให้ความรู้และ ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว (ปัญญาภาวนา)

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกวรรณ ชูชาญ. (2552), การจัดการความรู้ทางทรัพยากรวัฒนธรรมโดยผู้นำชุมชนเพื่อการ

ท่องเที่ยวชุมชนบ้านผาหมอน ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จักรกริช อรชร, (2546), สภาพจริงและความคาดหวังของประชาชนในจังหวัดนครปฐมต่อ

บทบาทของวัดในการให้การศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระปลัดเกษม ธิติสัมปันโน (รอดจากทุกข์) (2554), บทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์

โบราณสถานโบราณวัตถุศิลปวัตถุในอำเภอบ้านลาดจังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แสง จันทร์งาม, (2531), ศาสนศาสตร์, กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชย์.

สัมพันธ์ กล้องสมุด, (2554), ปัญญานันทภิกขุพระธรรมทูตแม่ทัพโลก, กรุงเทพฯ : บริษัท

พิมพ์ดี จำกัด.

วีระพล ทองมา และประเจต อำนาจ (2547), ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว

ต่อประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่แรมอำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่.บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อิทธิพล โกมิล. (2561), รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาบ้านวังน้ำมอบ จังหวัด

หนองคาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.