การศึกษาแนวทางการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ของวัดมหาวนาราม (พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง) จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฏีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดมหาวนาราม 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดมหาวนาราม การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยว ได้แก่ (1) แจ้งข้อมูลข่าวสารทางการท่องเที่ยวให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยว (2) เพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวที่เดินทางในประเทศในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (3) รักษาตลาดการท่องเที่ยว (4) เพิ่มการยอมรับและความเชื่อถือด้านการท่องเที่ยว (5) เพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยว (6) หลักการดำเนินการสำคัญมี 5 ประการ ได้แก่ (1) เร่งพัฒนา บูรณะ ฟื้นฟูมรดกและทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (2) บริหารการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก (3) เพิ่มความหลากหลายของการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ (4) เพิ่มมาตรการอำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย (5) เร่งฟื้นฟูความร่วมมือกับท้องถิ่นอื่นๆ 2) สภาพการท่องเที่ยวของวัดมหาวนาราม ได้แก่ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงองค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3.10 เมตร สูงประมาณ 5.00 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน พร้อมกับลงรักปิดทอง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาวนาราม หรือวัดป่าใหญ่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี การท่องเที่ยวที่สำคัญคือ งานปิดทอง สรงน้ำพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ประเพณีมหาสงกรานต์เมืองอุบล ตักบาตรพระประจำวันเกิดในวัดมหาวนาราม การบวงสรวงและบูชาพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง โดยจะจัดขึ้นก่อนวันเพ็ญเดือน 5 ของทุกปี เพื่อความเป็นศิริมงคลก่อนที่จะมีงานเทศน์มหาชาติ (บุญผะเวส) 3) แนวทางการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดมหาวนาราม (1) ควรมีการประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์เป็นภาษาต่างประเทศด้วย (2) จัดระเบียบด้านการจราจรและที่จอดรถให้มีรูปแบบเหมาะสม (3) ควรมีร้านค้าชุมชนเพื่อจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและจำหน่ายของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (4) กิจกรรมการปฏิบัติธรรม ควรมีอาคารที่พักให้เป็นสัดส่วนที่เหมาะสม (5) มีป้ายแจ้งระเบียบการปฏิบัติตนก่อนเข้าไปในวิหาร (6) มีผ้าถุงไว้บริการนักท่องเที่ยวที่แต่งตัวไม่เรียบร้อยใส่ก่อนเข้าไปในวิหาร (7) จัดเก็บขยะมูลฝอยให้เป็นสัดส่วนและเหมาะสม (8) เพิ่มห้องน้ำให้เพียงพอต่อจำนวนนักท่องเที่ยว (9) ปรับภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมให้สวยงามเป็นธรรมชาติ (10) เพิ่มป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ ในวัดให้เพียงพอ (11) เพิ่มกิจกรรมหลักที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับจังหวัด (12) สร้างจิตสำนึกแก่นักท่องเที่ยวให้มีระเบียบวินัยช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม
Article Details
References
กนกวรรณ ชูชาญ. (2552), การจัดการความรู้ทางทรัพยากรวัฒนธรรมโดยผู้นำชุมชนเพื่อการ
ท่องเที่ยวชุมชนบ้านผาหมอน ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, (2552), แนวทางการจัดการและส่งเสริมการท่องเที่ยว,
กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
การประชุมคณะรัฐมนตรีโดยทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
http//www.komchadluek.net/mobile/datetail//20131212/174635.html.
สิงหาคม 2563].
สารสนเทศ ณ อุบลราชธานี, แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=1782 [17 สิงหาคม
.
วีระพล ทองมา และประเจต อำนาจ (2547), ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว
ต่อประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่แรมอำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่.บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่