การอยู่ร่วมกันในสังคมชีวิตวิถีใหม่ของชุมชนพหุวัฒนธรรม ริมฝั่งแม่น้ำจันทบูร อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

พระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทฺโท (จุลเจือ)
ศุภกิจ ภักดีแสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชุมชนพหุวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำจันทบูร 2) เพื่อศึกษาการอยู่ร่วมกันในสังคมชีวิตวิถีใหม่ของชุมชนพหุวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำจันทบูร และ (3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการอยู่ร่วมกันในสังคมชีวิตวิถีใหม่ของชุมชนพหุวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำจันทบูร อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 13 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จากผู้ร่วมสนทนากลุ่มจำนวน 11 คน เลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชุมชนพหุวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำจันทบูร อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี พบว่า ชุมชนริมน้ำก็จะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ระหว่างชาวคริสต์กับชาวพุทธ เป็นชุมชนดั้งเดิมของคนหลายเชื้อชาติ เช่น ไทยญวณ ไทยพุทธ และเป็นชุมชนเก่าแก่ซึ่งสมัยก่อนเป็นท่าเรือ เป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญ มี 2 ศาสนา 3 วัฒนธรรมๆคือ วัฒนธรรมไทย, วัฒนธรรมจีน, และวัฒนธรรมญวน อาชีพหลัก คือ“ค้าขาย”วิถีชีวิตดั้งเดิม สมัยก่อนก็เป็นการทอสื่อ เกิดจากที่นี่ เป็นชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรี เป็นชุมชนที่คนจีน คนญวน คนไทย มาอยู่ด้วยกัน มาทำการค้าขายกันในชุมชน มาแลกเปลี่ยนสินค้า เอามาแลกเปลี่ยน และเป็น“ถนนสายแรก”เป็นถนนสายที่มีความรุ่งเรืองมากที่สุด อัตลักษณ์ คือ“ลายฉลุบ้าน”ที่ยังหลงเหลืออยู่

Article Details

บท
Research Articles

References

ธัญญวรินทร์ ภักดีธนกิตต์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาความประพฤติของมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา: วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 20 (64).

ประภาพรรณ ฉัตรมาลัย. (2552). มรดกวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำจันทบูร. วารสารวิถีชุมชนคนริมน้ำ: จันทบูร.

ประภาพรรณ ฉัตรมาลัย และคณะ. (2556). ชุมชนริมน้ำจันทบูร. เชียงใหม่: โชตนาปริ้นท์ จำกัด.

เดือน คำดี. (2553). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). ความสำคัญของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ

: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2556). ครอบครัวในความหมายใหม่: การค้นหาชีวิตแบบใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมภาร พรมทา. (2554). มนุษย์กับศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยาม.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2551). พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม. รายงานการวิจัย. ศูนย์ภูมิภาคทางสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน. คณะสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Hawkins. D. I. Best. R. J. & Coney. K.A. (2001). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy. 8 th ed). New York: McGraw Hill.