การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการระดมสมอง ในรายวิชาการขายเบื้องต้น สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีคุวานันท์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออก ด้วยการจัดการเรียนรู้ใช้เทคนิคการระดมสมอง ในรายวิชาการขายเบื้องต้น สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 โดยให้มีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่ร้อยละ 70 มีพฤติกรรมการกล้าแสดงออกอยู่ในระดับดีขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้ใช้เทคนิคการระดมสมอง ในรายวิชาการขายเบื้องต้นสำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1ที่มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาการบัญชี ปีที่ 1 ประจำปี 2563 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีคุวานันท์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre - Experimental Research) ที่มีการวัดผลหลังการทดลองอย่างเดียว (One group Posttest only design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการขายเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบเทคนิคการระดมสมอง 2) แบบประเมินพฤติกรรมการกล้าแสดงออก และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการขายเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนพฤติกรรมการกล้าแสดงออก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.84 อยู่ในระดับดี มีคะแนน (10 -13) ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 100 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เทคนิคการระดมสมองในรายวิชาการขายเบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.57 ของคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.93 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 92.92 ของนักเรียนทั้งหมด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ประพรรธน์ พละชีวะ. (2555). การเสริมสร้างทักษะเมตาคอกนิชันด้วยคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนร่วมกันที่ใช้เทคนิคการระดมสมองและเทคนิคการโต้แย้งในการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานที่ใช้คำถามเชิงกลยุทธ์เมตาคอกนิชันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. บัณฑิตวิทยา :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แพง พิมพรภิรมย์. (2533). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยา : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครรินทร์.
ยุพิน จันเรือง. (2556). การศึกษาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายที่สอนโดยใช้เทคนิคระดมสมองและผังความคิดเป็นฐาน. บัณฑิตวิทยา : มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
วิทยาลัยเทคโนโลยีคุวานันท์. (2562). ฝ่ายวิชาการของทางวิทยาลัยเทคโนโลยีคุวานันท์. ขอนแก่น: http://www.kuva.ac.th/data_2145: http://www.kuva.ac.th/data_2145.
สุกัญญา เชยโพธิ์. (2554). การปรับปรุงพฤติกรรมการแสดงออกของนักศึกษาในห้องเรียนโดยการเสริมแรง ทางบวก สำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ในรายวิชาการสำรวจยีออเดติค. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
Rawlinson J.G. (1988). Creative Thinking and Brainstorming. New York: Management Raining Limited.