การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคป ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3

Main Article Content

อมร ภูหอมบุญ
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อวัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในด้านความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่มและความคิดละเอียดลออ ผ่านกิจกรรม จำนวน 12 กิจกรรมที่ได้จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคป กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 33 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอนุบาลอุดมพร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขต 2 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นแบบทดลองขั้นต้น กลุ่มเดียววัดผลหลังการทดลอง (One Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคป จำนวน 12 แผน12 กิจกรรม 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 4 ด้าน ได้แก่ 1 ด้านความคิดคล่องแคล่ว 2 ด้านความยืดหยุ่น  3 ด้านความคิดริเริ่ม และ4 ด้านความคิดละเอียดลออ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็น สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า1) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนตามแนวคิดไฮสโคป ในภาพรวมพบว่านักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยเท่ากับ 80.27 คิดเป็นร้อยละ 80.27 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 90.91สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ 1 ความคิดคล่องแคล่วมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.33 คิดเป็นร้อยละ 81.32 ด้านที่ 2 ความคิดยืดหยุ่นมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.85 คิดเป็นร้อยละ 79.40 ด้านที่ 3 ความคิดริเริ่มมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.94 คิดเป็นร้อยละ 79.76 ด้านที่ 4 ความคิดละเอียดลออมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.15 คิดเป็นร้อยละ 80.60  2) ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคป จำนวน 12 กิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.92, S.D. = 0.15 )

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 .กรุงเทพฯ:

ชุมชนสหกรณ์การเกษตรกรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จินตนา ถาโคตร และแสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2563)’การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

ปฐมวัยโดยใช้การ จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดของวิลเลียมส์”.วารสารวิชาการ ลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 12 (33) มกราคม-เมษายน 2563.

ประภัสสร บราวน์และแสงสุรีย์ ดวงคำน้อย (2564). การพัฒนาความสามารถในการพูดของ

เด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการแสดงประกอบการเล่านิทาน” .วารสารวิจัยและวิชาการ

มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11(1) มกราคม-เมษายน 2564.

หน้า194-206.

พัชรี ผลโยธิน และคณะ. (2550) การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดไฮสโคป .

กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี.คอม มิวนิเคชั่น

โรงเรียนอนุบาลอุดมพร. (2561). หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลอุดมพร

อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์.

ลลิลทิพย์ วรรณพงษ์และแสงสุรีย์ ดวงคำน้อย(2563) “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

และเจตคติต่อการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD”. วารสาร มจร.อุบลปริทัศน์. 5(3) กันยายน-ธันวาคม 2563. หน้า 1-16.

วรนาท รักสกุลไทย (2551) บันทึกประสบการณ์การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองในการ

พัฒนาผู้เรียน กรณีโรงเรียนเกษมพิทยาแผนกอนุบาล.กรุงเทพฯ: พริกหวาน

กราฟฟิค.

อรวรรณ นิ่มตลุง (2546). เทคนิคการทำหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย :สกลนคร : สถาบัน

ราชภัฏสกลนคร

อารี พันธ์มณี. (2540), คิดอย่างสร้างสรรค์, กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี.

______.(2544), คิดอย่างสร้างสรรค์, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่