การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแบบธรรมชาติ ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานภาษาอังกฤษ ชั้นอนุบาลปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานภาษาอังกฤษ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มและมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานภาษาอังกฤษ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับสื่อประสม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานภาษาอังกฤษ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองวาปีปทุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองขั้นต้น กลุ่มเดียววัดผลหลังการทดลอง (One Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับสื่อประสม จำนวน 12 แผน แผนละ 20 นาที 2) แบบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการออกเสียง ด้านคำศัพท์ และด้านความเข้าใจในการสื่อสาร จำนวน 4 หมวด หมวดละ 5 ข้อ รวม 20 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 4 ด้าน สถิติที่ใช้เป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานภาษาอังกฤษ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับสื่อประสม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 95.36 คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 95.36 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนห้องเรียนคู่ขนานภาษาอังกฤษ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับสื่อประสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 และเมื่อเทียบเกณฑ์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 .กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ ชุมชนสหกรณ์การเกษตรกรแห่งประเทศไทย จำกัด.
______. (2562). คู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามความเข้มข้น
ระดับสู่สากล.กรุงเทพ: กระทรวงศึกษาธิการ
คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. (2562) . มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งแห่งชาติ กลุ่มพัฒนาการศึกษาปฐมวัย สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ
นีนา อิสมิง.(2560). ผลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิธีธรรมชาติที่เน้นการ
กระตุ้นความใส่ใจและการสังเกตที่มีต่อความสามารถในการฟังและการพูดภาษา
อังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร
พิมพ์ทิพย์ ดวงจิตรและเสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2561). การพัฒนาความสามารถทางการฟัง-
พูดภาษาอังกฤษและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามแนวธรรมชาติ, วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.5(2) พฤษภาคม-สิงหาคม 2561, หน้า 277- 294.
พิมพ์พร บังวัด และ จิระพร ชะโน. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อ
สารประกอบสื่อประสมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 4 ฉบับที 10 เดือน มกราคม-เมษายน 2564, หน้า 92-101
โรงเรียนเมืองวาปีปทุม. (2562).รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2562.
มหาสารคาม : โรงเรียนเมืองวาปีปทุม
อรุณี หรตาล. (2559). “เด็กสองภาษา:สร้างได้ในวัยอนุบาล”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.18(1) มกราคม-มิถุนายน 2559, หน้า 230- 240
Krashen, Stephen.; & Terrell, D. (2000). The Natural Approach: Language
Acquisition in the Classroom. 3rd ed. Essex, United Kingdom: Pearson Education