การพัฒนาตัวชี้วัดด้านความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาและพัฒนาตัวชี้วัดด้านความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 องค์ประกอบและตัวชี้วัดด้านความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ ผลจากการพัฒนาตัวชี้วัดด้านความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ พบว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดที่มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับที่กำหนดไว้ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ 1) ด้านการดำเนินงานอย่างโปร่งใส 2) ด้านการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่ดี และ 3) ด้านการเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ และมีตัวชี้วัดจำนวน 17 ตัวชี้วัด
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการกำหนดมิติหรือองค์ประกอบในการพิจารณาความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลออกเป็น 3 ด้าน เพื่อเป็นกรอบอธิบายลักษณะความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวชี้วัด เกือบทั้งหมดเห็นว่า ตัวชี้วัดขององค์ประกอบแต่ละด้านมีความตรงประเด็น มีความเป็นตัวแทน มีความสอดคล้องและเพียงพอที่จะอธิบายลักษณะการปฏิบัติที่พึงประสงค์ของแต่ละองค์ประกอบได้ น่าจะสามารถนำไปประเมินและยกระดับการดำเนินงาน ของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ได้ ส่วนผู้ให้ข้อมูลที่เข้าร่วมสนทนากลุ่มส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ให้สัมภาษณ์ โดยเห็นด้วยกับการกำหนดองค์ประกอบ และการกำหนดตัวชี้วัดของแต่ละองค์ประกอบ
Article Details
References
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2560). แบบรายงานการกำกับดูแลทรัพย์สินและหนี้สินของสหกรณ์ออมทรัพย์. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาการเงินและสหกรณ์ผู้บริโภค.
______. (2561). บันทึกแนวทางการส่งเสริมสหกรณ์ใสสะอาดตามหลักธรรมาภิบาล.
กรุงเทพฯ: กองพัฒนาการเงินและสหกรณ์ผู้บริโภค.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). หลักการและแนวทางกำกับดูแลสถาบันการเงินของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562 จาก
https://www.bot.or.th/Thai/BOTStoryTelling/Pages/ FinancialInstitutions_StoryTelling_FI.aspx
______. (2563). หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562จาก https://www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/2561/ThaiPDF/25610156.pdf
รุจิพัชร์ กิตติวิวัฒนพงศ์ และกนกรัตน์ ยศไกร. (2559). ความย้อนแย้งของสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นในประเทศไทยกับปัญหาคอร์รัปชัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(1): 235-248.
วิรไท สันติประภพ. (2562). ธรรมาภิบาลในการบริหารสหกรณ์ยุค 4.0. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562 จาก https://www.cpd.go.th/cpdth2560/images/Thamma_Phi_Ban_ Nai_Kan_Borihan.pdf.
ศิริวรรณ อัศววงศ์เสถียร, กันตภณ ศรีชาติ และรัฐศาสตร์ หนูดำ. (2560). ความเสี่ยงของระบบสหกรณ์ออมทรัพย์กับแนวทางการปฏิรูปการกำกับดูแล. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2562 จาก https://www.bot.or.th/ Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_114.pdf
Coelho, et al. (2019). FSI Insights on Policy Implementation No. 15, Regulation and Supervision of Financial Cooperatives. Basel: Switzerland: Bank of International Settlement.
Cuevas, C. E., & Juan, B. (2018). Financial Cooperatives, Issues in Regulation,
Supervision, and Institutional Strengthening. Washington: World Bank
Group.
Gerring, J., & Tucker, S. C. (2004). Political Institutions and Corruption: The
Role of Unitarism and Parliamentarism. Retrieved November 7, 2019,
from https://pdfs.semanticscholar.org/
d9/d47809b487ec16b8c24fafdf991b22268647.pdf
Moser, C. (2001). How open is ‘open as possible’? Three different approaches
to transparency and openness in regulating access to EU documents.
Retrieved November 7, 2019, from http://aei.pitt.edu/237/1/pw_80.pdf
Office of the Civil Service Commission (2010). Manual of Transparency
Standards Development for Public Sector. Bangkok: Civil Service
Development Institute.
Transparency International. (2013). Business Principles for Countering Bribery,
A Multi-Stakeholders Initiative led by Transparency International. Berlin: Transparency International.
______. (2019). Anti – corruption glossary. Retrieved October 10, 2019, from https://www.transparency. org/glossary