แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี

Main Article Content

จิรเชฏฐ์ โพธิ์กลิ่น
สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ
ปรีดี ทุมเมฆ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลขอสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติด้านการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี และ 3) เพื่อเสนอแนวทาง การพัฒนาการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้กลุ่มประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 213  คน  แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 12 คน ครูจำนวน 166 คน  กรรมการสถานศึกษาจำนวน 45 คน และเครื่องมือที่ใช้ในวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดทำแผนอัตรากำลัง ด้านการสรรหา คัดเลือก และบรรจุแต่งตั้งบุคลากร ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร และด้านการพัฒนาบุคลากร 2) วิธีปฏิบัติด้านการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี ในส่วนการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู พนักงานครู และบุคลากรทางการศึกษาท้องถิ่น ในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี มีความสอดคล้องตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและสอดคล้องกับมาตรฐานและหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี 3.1) ด้านการจัดทำแผนอัตรากำลัง ควรมีการประชุมเพื่อประเมินความต้องการอัตรากำลังทุกภาคเรียน การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งในรูปแบบของคณะกรรมการ 3.2)ด้านการสรรหา คัดเลือก และบรรจุบุคลากร ควรมีการสำรวจความถนัดและความต้องการของครูในการบรรจุ 3.3) ด้านการการพัฒนาบุคลากร ควรมีการวางแผนปรับปรุงบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันในการบริหารงานบุคคล และ 3.4) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรมโดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนอธิบายแก่ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจ ควรมีการแจ้งหลักเกณฑ์

Article Details

บท
Research Articles

References

แจ่มจันทร์ ศรีพาแลว. (2559). ปัญหาการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล

ในเขตพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ราชภัฏมหาสารคาม.

ดิษย์ชัย แก่นท้าวและคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การ

บริหารส่วนจังหวัด. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธงชัย สันติวงษ์. (2542). การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนา

พานิช.

ปฐมชัย มุลิกะบุตร. (ม.ป.ท.). ปัญหาการบริหารงานบุคคลของเทศบาลตำบลศรีสุนทร

อำเภอถลางจังหวัดภูเก็ต. ภูเก็ต : เทศบาลตำบลศรีสุนทร.

ปริวัตร ปังอุทา. (2564). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนใน

สังกัดเทศบาลจังหวัดอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศุภามาศ แก้วดวงดี. (2553). แนวทางการพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล

หนองเขียด อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2540). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 18.

กรุงเทพฯ : น่ากังการพิมพ์.

สรณะ เทพเนาว์. (2557). หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน, ป 65 ฉ 22522 : 10.

Cooper,William R. (1991) “A Study of the Merit Reward for Teacher Programs

in Hanover,” Dissertation Abstracts International. 8, 7: 1143-A.

Mary, R. (1989) Resource teacher personnel development need: Differences in

perceptions among special education resource teachers and their

district leadership personnel. Utah: Brigham Young University,.