การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาสื่อคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาสมบูรณ์ เมืองทุ่งมีไช แขวงไชยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาสื่อคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับการฝึกอบรมการพัฒนาสื่อคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนสำหรับครูโรงเรียนประถม ศึกษาสมบูรณ์เมืองทุ่งมีไช แขวงไชยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษาสมบูรณ์เมืองทุ่งมีไช แขวงไชยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาสื่อคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาสมบูรณ์เมืองทุ่งมีไช แขวงไชยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เอกสารประกอบหลักสูตร และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า ครูคณิตศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษาสมบูรณ์เมืองทุ่งมีไช แขวงไชยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความคิดเห็นว่านักเรียนมีคะแนนต่ำในเนื้อหาในวิชาเศษส่วนสูงที่สุด และต้องการอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตสื่อคณิตศาสตร์ เป็นระยะเวลา 3 วัน จึงได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่มีโครงสร้างเหมาะสมครบถ้วนตามองค์ประกอบของหลักสูตรตามแนวทางการพัฒนาหลักสูตรของทาบา โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร 14 กิจกรรม ระยะเวลาในการฝึกอบรม 18 ชั่วโมง ผลการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรทุกประการคือด้านความรู้คิดเป็นร้อยละ 93.92ด้านทักษะ/กระบวนการ ร้อยละ 87.17 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์คิดเป็นร้อยละ 87.50 และด้านระยะเวลาของการเข้าฝึกอบรมของผู้เข้ารับการอบรมคิดเป็นร้อยละ 100 และพบว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, (2560). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
เกียรติศักดิ์ สังข์ด้วง สุเมธ งามกนกและสมพงษ์ ปั้นหุ่น, (2560, มกราคม-มิถุนายน).
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างศักยภาพครูในการส่งเสริมอาชีพของนักเรียน
และชุมชนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
ราชภัฏภูเก็ต,13(1).หน้า321-342.
จิราภรณ์ เกตุแก้ว, (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับ
นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชลายุทธ์ ครุฑเมือง, (2555). พฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของครู: ปัจจัยและการ
พัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชลายุทธ์ ครุฑเมือง ,(2560). พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของ
โรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุตรดิตถ์.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, (2561).การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพรีนท์.
สมคิด บางโม, (2559). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สุรศักดิ์ ปาเฮ, (2550). สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (MEDIA AND TECH NOLOGIS
FOR EDUCATION). พิมพ์ครั้งที่ 3. แพร่: แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์.
วิภา ตัณกุลพงษ์, (2560, กรกฏาคม-กันยายน). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการสอนเขียนเชิง สร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงานการเขียน
สำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารสุทธิ
ปริทัศน์, 31(99).หน้า 54-66.
วีรภัทร ไม้ไหว, (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน
ระดับประถมศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิต.
อนุชิต จันทศิลา พจมาน ชำนาญกิจและภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์, (2560). การพัฒนา
หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมอง
เป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านภาษาของผู้เรียนสำหรับครูระดับประถมศึกษา.
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(2). หน้า 31-45.
อังคณา เรืองชัย, (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเรื่อง การทำน้ำสมุนไพรเพื่อ
เป็นอาชีพเสริมในครอบครัว.[Online]. Available:
http://www.research.rmutt.ac.th/?p=13270. [2563,ธันวาคม 15]