การจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านม่วงท่าลาด ตำบลม่วงลาด อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงลาด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา แบบประเมินพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ปรับกายใจให้พรั่งพร้อม (2) น้อมเปิดใจเรียนรู้ (3) มุ่งสู่ประสบการณ์ใหม่ (4) คิดใคร่ครวญการเรียนรู้ 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามีพฤติกรรมการมีสมาธิหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
Article Details
References
จริยาภรณ์ สกุลพราหมณ์. (2557). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตต
ปัญญาศึกษาและแนวคิดประสบการณ์ที่นำไปสู่ศักยภาพการเรียนรู้สูงสุดเพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2555, 23 มิถุนายน). จิตวิวัฒน์ : การตกผลึกและการระเบิดประสบการณ์ ทางจิตตปัญญาทัศน์และจิตตปัญญาปฏิบัติ. มติชน, น. 6.
ฐิติยา สุ่นศรี. (2561). กิจกรรมฝึกสมาธิสำหรับเด็กปฐมวัย. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
https://www.youngciety.com/author/plailom.html. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10
พฤศจิกายน
วิฐารณ บุญสิทธิ. (2555). โรคสมาธิสั้นการวินิจฉัยและรักษา [เว็บบล็อก]. สืบค้น
จาก http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/57-4/00-Vitharon.pdf
เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562.
วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2553). ฉลาดได้อีก. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ; ดีเอ็มจี.
สุรวาท ทองบุ.(2555). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
Elizabeth Willis & Laura H. Dinehart. (2016). Contemplative practices in early
childhood: implications for self-regulation skills and school readiness.
Journal Early Child Development and Care. [Online]. Avaliable
https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/03004430.2013.804069?src=recsys.