บทบาททางการเมืองของทหารก่อนและหลังรัฐประหาร ในเชิงเปรียบเทียบ ปี พ.ศ.2549 และปี พ.ศ.2557

Main Article Content

ประดิษฐ์ ธิติศรัณย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองไทย 2) ศึกษาบทบาทของทหารทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างในการทำรัฐประหารปี พ.ศ.2549 และปี พ.ศ.2557 ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากการวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการ หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมืองจำนวน 20 คน ประกอบด้วย 1) นายทหารที่มีบทบาททางการเมือง 2) นักวิชาการด้านการทหาร 3) นักการเมือง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ที่สามารถให้ข้อมูลสำคัญได้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มารวบรวมวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ทำให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองไทย เกิดจากปัจจัยภายนอกสถาบันกองทัพ สาเหตุ สภาวะแวดล้อมภายนอกกองทัพเป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่การยึดอำนาจรัฐประหารของทหาร (หรือที่เรียกว่าปัจจัยสภาพแวดล้อม) ซึ่งได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาสังคมการเมือง เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง  2) บทบาทของทหารทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพราะระบบการเมืองการปกครองของไทยมีผลโดยตรง คือ เป็นการดึงประชาธิปไตยให้ล้าหลัง ไม่เชื่อว่าการยึดอำนาจทำรัฐประหารแล้วจะมุ่งไปสู่ระบอบประชาธิปไตย เป็นการนำไปสู่อำนาจนิยมมากกว่า ทุกครั้งที่มีการยึดอำนาจรัฐประหาร ทำให้กระบวนการทางประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง ระบบการเมืองการ ปกครองอ่อนแอล้มเหลว บทบาทการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปได้ยากเพราะยังอยู่ในระบบของวงจรอุบาทว์ โดยเฉพาะบทบาทของกองทัพในการทำรัฐประหาร 3) การเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างในการทำรัฐประหาร สำหรับบทบาทของทหารในการทำรัฐประหารในแต่ละยุคมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน โดยประเด็นที่มีความเหมือนกันคือ ผู้นำทำการรัฐประหารมักจะมาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในกองทัพ ใช้กลยุทธ์การทำรัฐประหารด้วยการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากพลเรือนที่เหมือนกัน หลังจากการทำรัฐประหารสำเร็จก็จัดตั้งรัฐบาลเงาขึ้นมา โดยทหารยังมีอำนาจในการควบคุมสั่งการอยู่เบื้องหลัง ส่วนประเด็นที่แตกต่างกันในปี พ.ศ.2549 ผู้นำไม่ต้องการสืบทอดอำนาจ เมื่อเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น ทหารจะเข้ามามีบทบาทโดยทำการยึดอำนาจรัฐประหารทันที โดยไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทของกองทัพแต่อย่างใด ความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้ เรียกได้ว่า เข้าสู่ขั้นวิกฤติ และปี พ.ศ.2557 ผู้นำต้องการที่จะสืบทอดอำนาจ เมื่อเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น บทบาททหารในช่วงวิกฤติการณ์ทางการเมืองได้ปรับเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม จากนั้นเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองโดยใช้ความชอบธรรม โดยค่อยปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น โดยเข้าทำการยึดอำนาจรัฐประหาร สำหรับความเหมือนและความแตกต่างในการทำรัฐประหารแต่ละยุคของกองทัพไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามปัจจัยวิธีการและบริบททางสังคมการเมืองของผู้นำด้วย

Article Details

บท
Research Articles

References

กฤษ หนุ่มน้อย. (2557).“บทบาททางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย. ของพลเอก

สนธิ บุยรัตกลิน ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ”. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คึกฤทธิ์ เรกะลาภ. (2551). การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย : ศึกษากรณี

รัฐประหาร 19 กันยายน 2549. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทัตณัฐยศ ขันทา. (2556). บทบาททางการเมืองของทหาร ในช่วงรัฐบาลไทยรักไทย. บัณฑิต

วิทยาลัย :มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นราวดี เกิดจงรักษ์. (2559). การแทกรแซงของทหารและการทำให้เป็นประชาธิปไตยใน

ไทย และอินโดนีเซีย. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุศรา นิยมเวศ. (2559). การยอมรับบทบาทของทหารในการเมืองไทยของประชาชนใน

พื้นที่กรุงเทพมหานคร และประริมณฑล: กรณีการศึกษาการรัฐประหาร 22

พฤษภาคม 2557. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วชิรวัชร งามละม่อม. (2554). รัฐประหาร บทบาททหารกับการเมือง ในประเทศไทย.

กรุงเทพฯ: กาประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54.

สุชิน ตันติกุล. (2515).รัฐประหาร พ.ศ.2490. กรุงเทพฯ:สมาคมสังคมศึกษาแห่งประเทศไทย.

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี. (2552). ทหารในการเมืองไทย: ใครจะพานายพลพวกนี้ออกไป.

ประชาไท/วารสาร “ฟ้าเดียวกัน” ปีที่ 7 ฉบับที่ 3.

รชาติ บำรุงสุข. (2561). ไตรสรณคมน์ทหาร รัฐประหารและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ:

สถาบันปรีดี พนมยงค์.

สุรพัศม์ นำลอง. (2554). บทบาทหน่วยรบพิเศษในการรัฐประหารในช่วงปี พ.ศ.2509-2549

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2561). การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ. วารสาร

สังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่48 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค.