ความศรัทธาในพุทธศาสนาของประชาชนในเขตตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

สนธยา กันเติม
วิจิตรา ศรีสอน
อวยพร เรืองโรจน์
ราชพงศ์ ภูมิพงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อความศรัทธาในพุทธศาสนาของประชาชนในเขตตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อความศรัทธาในพุทธศาสนาของประชาชนในเขตตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคต่อความศรัทธาในพุทธศาสนาของประชาชนในเขตตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในเขตตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 359 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อความศรัทธาในพุทธศาสนาของประชาชนในเขตตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความศรัทธาอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านกัมมสัทธา (เชื่อกรรม) และด้านตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) และมีความศรัทธาอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านกัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน) และด้านวิปากสัทธา (เชื่อวิบาก) 2)  ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อความศรัทธาในพุทธศาสนาของประชาชนในเขตตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความศรัทธาในพุทธศาสนาโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อความศรัทธาในพุทธศาสนาของประชาชนในเขตตำบลวังกระแจะ พบว่า ปัญหา คือ คนนิยมวัตถุมากกว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า ความไม่พร้อมของพระสงฆ์ในการสอนสั่งให้ประชาชนเกิดความเชื่อ อุปสรรค คือ พระสงฆ์หันมาทางวัตถุนิยมมากกว่าการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย ความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งผลต่อความศรัทธาของคนรุ่นใหม่ ข้อเสนอแนะ คือ คณะสงฆ์ควรปฏิบัติตนตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความเคารพศรัทธาของประชาชน


 

Article Details

บท
Research Articles

References

คมเพชร พารีสอน. (2550). ความศรัทธาในพุทธศาสนากับสัมพันธภาพในครอบครัวของผู้สูงอายุจากชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลลพบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงเดือน พันธุมนาวินและคณะ. (2540). ความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาของคนไทย: การปลูกฝังอบรมและคุณภาพชีวิต. รายงานการวิจัย คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). เรื่องที่คนไทยควรเข้าใจให้ถูกต้อง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.

พระมหาดนัย ธมฺมาราโม. (2560). วิเคราะห์เรื่องศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6 (2-02), 479-180.

พัศญา วัฒนชัยพงศ์. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนากับการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง. บัณฑิตวิทยาลัย :: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมศักดิ์ ชินภา. (2555). ความเชื่อเรื่องบุญ บาปตามแนวทางพระพุทธศาสนาของผู้ต้องขังเรือนจากลางนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สุภาพร วัชรคุปต์. (2558). พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของประชาชนในหมู่บ้านรักษาศีล 5 นำร่อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. บัณฑิตวิทยาลัย :: มหาวิทยาลัยบูรพา.

แสง จันทร์งาม. (2544). พุทธศาสนวิทยา. กรุงเทพฯ: บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์จำกัด.

อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล. (2548). การรักษาศีลห้าของพุทธศาสนิกชนวัยแรงงาน : กรณีศึกษาเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

James Fowler, (1996). Faith Development Theories. New York: Harper Collins.