การบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) สร้างแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และ 3) ยืนยันแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 552 คน เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ขั้นตอนที่ 2) สร้างแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยการสัมมนาแบบการสนทนากกลุ่ม จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้คือร่างแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และเอกสารประกอบการสัมมนาแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนจากผู้บริหาร จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำผู้บริหาร (2) คุณภาพบุคลากร (3) การวางแผนบริหารจัดการ (4) ความร่วมมือของเครือข่าย (5) คุณภาพผู้เรียน (6) การดำเนินการ และ (7) การพัฒนาบุคลากร 2) แนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย องค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ 3) การยืนยันแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
โด่งสยาม โสมาภา. (2557, มกราคม–เมษายน). “การวิเคราะห์ปัจจัยและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อรับรางวัลพระราชทานคุณลักษณะ”, วารสารสมาคมนักวิจัย. 21(3): 101-121.
เบญจนารถ อมรประสิทธิ์. (2558, กรกฎาคม–กันยายน).“รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด”, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(3): 1–9.
ราตรี ศรีไพรวรรณ. (2555). การพัฒนาแนวทางการบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมกิต บุญยะโพธิ์. (2558). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมาพร ลี้ภัยรัตน์. (2560). รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
โสภาพร ทะโพนชัย. (2558). “สภาพความพร้อมด้านบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ เพื่อรองรับการเข้าสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2”, วารสารอิเล็คทรอนิคทางการศึกษา. 7(1): 626-640.
Plexico, C. (2018).“Global Trends Necessitating a World Class Education”, Dissertation Abstracts International.