แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของพระสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและมีความรุนแรงมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนในวงกว้าง รวมทั้งพระสงฆ์ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของพระสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 130 รูป ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2563-เมษายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และ 3) พฤติกรรมในการป้องกันการติดโรคไวรัสโคโรนา 2019 และแนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.33, SD= 0.97) เมื่อแบ่งรายด้าน พบว่าการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (=4.74, SD=0.93) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (=4.63, SD=0.89) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (=4.43, SD= 0.91) อยู่ในระดับมากที่สุด การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (=3.97, SD=0.94) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค (=3.89, SD=1.20) อยู่ในระดับมาก สำหรับพฤติกรรมในการป้องกันการติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่าอยู่ในระดับมาก (=4.15, SD= 0.94) ข้อมูลเชิงคุณภาพสะท้อนการให้ความหมายของการ ว่า การติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า “ติดง่ายตายง่าย” พระสงฆ์มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการที่ว่าเป็นปกติสำหรับพระสงฆ์ และให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆได้ดี มีการแสวงหาความรู้หลายช่องทาง สามารถให้คำแนะนำกับผู้อื่นได้
Article Details
References
กรมการควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นวันที่ 4 เมษายน 2563 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/introduction.php
กรมการแพทย์. (2564). กรมการแพทย์แนะการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ให้ห่างไกลโควิด 19 แบบ New Normal. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564 จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02 /152567
พระมหาจำนงค์ สิริวณฺโณ (ผมไผ). (2564). แนวทางการจัดการบทบาทพระสงฆ์ในการปรับตัวกับสถานการณ์โควิด-19. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 395-405.
สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2563). มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับพระภิกษุ สามเณร สืบค้นวันที่ 4 เมษายน 2563 จาก http://mahathera.onab.go.th/index.php?url=mati&id=9499
ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(4), 158-168.
Alsulaiman, SA and Rentner, TL. (2018). The Health Belief Model and Preventive Measures: A Study of the Ministry of Health Campaign on Coronavirus in Saudi Arabia. Journal of International crisis and Risk Communication Research, 1(1), 27-56.
Rosenstock, M. I., Strecther, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social Learning Theory and Health