ความสัมพันธ์ของปัจจัยประชากรศาสตร์กับการรับรู้การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้ประกอบการธุรกิจ กรณีศึกษาเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สุธาทิพย์ เลิศวิวัฒน์ชัยพร
นลินี จรัส

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ประกอบการธุรกิจในเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี  2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ3) เพื่อเปรียบเทียบประชากรศาสตร์กับการรับรู้การป้องกันการแพร่ระบาดของของเชื้อไวรัส Covid-19 ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้มาจากผู้ประกอบการเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 273 คน เป็นการคำนวณคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของยามาเน่ (Taro Yamane,1973:727) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 163 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ในการหาค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติทดสอบ ค่า T-Test สถิติทดสอบค่า F-Test ผลการศึกษาพบว่า 1) การรับรู้การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้ประกอบการธุรกิจกรณีศึกษาเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สถานที่ท่องเที่ยวมีการคัดกรองเกี่ยวกับเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.71) รองลงมา คือ สถานที่ท่องเที่ยวมีการเฝ้าระวังการเข้าออกของบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.53) สถานที่ท่องเที่ยวมีมาตรการป้องกันเกี่ยวกับ Covid-19 อยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.51) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.50) สถานที่ท่องเที่ยวจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการป้องกันโรค อยู่ในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.47) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การรับรู้วิธีป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.37) 2) เพศที่แตกต่าง อายุที่แตกต่างกัน สถานภาพที่แตกต่างกันและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อการรับรู้การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้ประกอบการธุรกิจ กรณีศึกษาเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ยอมรับสมมติฐาน

Article Details

บท
Research Articles

References

กวินภพ สายเพ็ชร์.(2564).โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (COVID-19) กับโอกาสในการปรับตัวทางเศรษฐกิจ ของอุตสาหกรรมโรงแรมของประเทศไทย.วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2564)

ชนินทร์ เก่งกล้าและธิติ มีปลื้ม. (2555) . พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฏฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2564.

พัชรียา แก้วชู.(2564).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ New Normal หลังการแพร่ระบาดโควิด-19. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เพียงใจ คงพันธ์และภัทราวรรณ วังบุญคง (2564) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเขาศูนย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช