การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกโดยใช้นวัตกรรม กรณีศึกษาตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความต้องการวัตถุดิบต้นกกของตำบลโพนงาม 2) เพื่อออกแบบการพัฒนาโดยใช้นวัตกรรมการออกแบบ 3 ดี การย้อมสีนาโนซิ้งของตำบลโพนงาม 3) เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกโดยใช้นวัตกรรม กรณีศึกษาตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม จำนวน 21 หมู่บ้าน ผลการวิจัย พบว่า 1) ในชุมชนมีภูมิปัญญาประเภทหัตถกรรม(การทอเสื่อ) ทุกหมู่บ้าน มีการทอเสื่อแบบดั้งเดิม และการทอเสื่อขิดเป็นลวดลายตามแบบที่พ่อค้านำมาจำหน่ายโดยใช้ท่อ PVC มาเป็นแบบในการทอเพื่อให้เกิดลาย 2) ออกแบบการพัฒนาต่อยอดโดยใช้นวัตกรรมการออกแบบ 3 ดี การย้อมสีนาโนซิ้งของตำบลโพนงามโดยนำนวัตกรรมการทอเสื่อกก การเทคนิคการย้อมเส้นกก การวาดกราฟ และออกแบบลายที่เป็นเอกลักษณ์อัตลักษณ์ของชุมชน เทคนิคการเจาะไม้แบบให้เป็นลาย เทคนิคการทอเสื่อ และการแปรรูปเสื่อ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ กระบวนการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การยอมรับในระดับพื้นฐานและท้องถิ่น การสร้างออกแบบลายทอเสื่อกก จากอัตลักษณ์ชุมชน เป็นการต่อยอดโดยกลุ่มครูภูมิปัญญาถ่ายทอดในการสาธิตและสอนให้กับคนรุ่นหลัง 3)การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกโดยใช้นวัตกรรม กรณีศึกษาตำบลโพนงามการจัดกิจกรรมการจัดจำหน่าย/ตลาดออนไลน์/ออกร้าน/จัดนิทรรสการ โดยจัดแสดงนิทรรศการแสดงสินค้า ภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทหัตถกรรม (ทอเสื่อ) เพื่อเป็นการช่วยเหลือชุมชนและท้องถิ่นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและเผยแพร่สินค้าชุมชนให้ผู้ที่สนใจ ได้เรียนรู้สืบทอด ภูมิปัญญาเพื่อความวัฒนาถาวร รวมถึงการยกย่องครูภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยมอบเกียรติบัตร เพื่อเชิดชูครูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ จึงเกิดการสร้างมาตรฐานการทอเสื่อกกและลวดลายที่สวยงาม เพี่อนำไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ในแบรนด์ Chaksarn ซึ่งจะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทหัตถกรรม (ทอเสื่อ) สู่ตลาดได้อย่างกว้างขวางและเพิ่มรายได้แก่ประชาชนในตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ต่อไป
Article Details
References
ประณีต ใจหนัก. (2555). การศึกษาตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์เสื่อกกของชาวบ้านหนองบัวทอง
ตำบลกองทูล อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
พรรณนิภา รอดวรรณะ.(2556). การบัญชีต้นทุน : หลักและกระบวนการ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิทักษ์ น้อยวังคลัง.(2544). ลวดลายสาน.ภาควิชาทัศนศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มณฑลี ศาสนนันทน์. (2550). เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและวิศวกรรมย้อนรอย. กรุงเทพฯ :
สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พิมพ์ครั้งที่ 2.
ลักษณาพร โรจน์พิทักษ์กุล. (2553). การสร้างมูลค่าเพิ่มการทอเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจชุมชนของ
บ้านนาฝุ่นตำบลกรทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี.ฉะเชิงเทรา : คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(2558) “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” มูลนิธิวิกิมีเดีย. [ออนไลน์].
แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ หนึ่งตำบล_หนึ่งผลิตภัณฑ์ [9 มกราคม
.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2539). ศิลปหตถกรรมพ้นบ้าน. กรุงเทพฯ : คอมแพคพริ้น.
วิศรุตา อรุณรัตน์. (2553). ต้นทุนและผลตอบแทนการทำเสื่อกระจูดของกลุ่มเสื่อกระจูดทะเล
น้อย จังหวัดพัทลุง. ปริญญา บัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และ สมชาย หิรัญกิตติ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : บริษัท
ธรรมสารจำกัด.