หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนอธิบายเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ โดยกล่าวถึง ธรรมาภิบาลกับการบริหารแนวใหม่ หลักธรรมาภิบาลคืออะไร ลักษณะของธรรมาภิบาลองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล ความยั่งยืนของธรรมาภิบาล การบริหารงานภาครัฐ ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ ความสำคัญของธรรมาภิบาลต่อการบริหารงานภาครัฐ โดยธรรมาภิบาลเป็นการบริหารงานของภาครัฐในทุก ๆ ด้านโดยชอบธรรมและมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักเหตุผลและความเป็นธรรม นำกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกส่วนของสังคมไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาชนเพื่อให้ประเทศชาติมีพื้นฐานประธาธิปไตยที่เข้มแข็งมีความชอบธรรม มีโครงสร้างการบริหารที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ การมีหลักการบริหารจัดการที่ดีจึงเข้ามาเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและถือเป็นแนวปฏิบัติกันมากขึ้น ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐจึงนับเป็นกระแสที่ทุกภาคให้ความสำคัญและสนใจและนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานขององค์กรเป็นหลัก ดังนั้นหลักธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วยหลักสำคัญ 6 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า หากองค์กรมีการบริหารงานภาครัฐที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ดังนั้นหากความไว้วางใจที่ประชาชนมีต่อรัฐบาล ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐย่อมสะท้อนถึงความมีธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐในระดับที่สูง สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาถือเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐร่วมกันอย่างบูรณาการในการกล่อมเกล่าเยาวชนไทยให้เป็น “คนดี” ของสังคมเพื่อผลิตคนที่ดีเข้าสู่ระบบบริหารงานภาครัฐและสังคมโดยรวม และเพื่อดำเนินการบริหารงานภาครัฐและพัฒนาองค์การภาครัฐยุคใหม่แห่งธรรมาภิบาลสู่กลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย New Normal
Article Details
References
ไชยวัฒน์ ค้ำชู. (2545). ธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.
ถวิล มาตรเลี่ยม. (2544).การปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ,กรุงเทพฯ :
เสมาธรรม.
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2545). โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบ
บริหารจัดการที่ดี. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2543). สามประสานในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. นานาสาระจาก
รวม พลังเพื่อการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี. นนทบุรี: สถาบัน
พัฒนาข้าราชการพลเรือน.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2545). ธรรมาภิบาลในองค์กรอิสระ. เอกสารประกอบการบรรยาย
วันที่ 8 มิถุนายน 2545, นนทบุรี สถาบันพระปกเกล้า.
______. (2552). การกำกับดูแลองค์การที่ดี. เอกสารประกอบการบรรยาย ณ ห้อง ประชุม คณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรุงเทพฯ: (เอกสารอัดสำเนา)
บุญเสริม วีสกุล. (2547). ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการ บ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. เล่มที่ 116 ตอนที่ 63 ง. กรุงเทพฯ: สำนัก นายกรัฐมนตรี.
วรภัทร โตธนะเกษม. (2542). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). กรุงเทพฯ: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2542). คู่มือการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองกลาง สำนักงาน ก.พ..
Boutros-Ghali, Boutros. (2000). “An Agenda for Democratization,” in Global
Democracy, Barry Holden (ed.), New York: Routledage.
Rhodes, R.A.W. (1997). Understanding Governance: Pllicy Networks, Governance,
Reflexivity, and Accountability. Maidenhead: Open University Press.